ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กร & หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน “บ. อินโดรามาเวนเจอร์ส” ที่ “AA-” หุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุน ที่ “A” จัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันวงเงินไม่เกิน 1

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday October 16, 2020 10:53 —ทริส เรตติ้ง

ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันของ บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ ?AA-? และทริสเรทติ้งยังคงอันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนของบริษัทที่ระดับ ?A? นอกจากนี้ ทริสเรทติ้งยังจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันชุดใหม่ในวงเงินไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาทของบริษัทที่ระดับ ?AA-? พร้อมทั้งปรับลดแนวโน้มอันดับเครดิตของบริษัทเป็น ?Negative? หรือ ?ลบ? จาก ?Stable? หรือ ?คงที่? ด้วยแนวโน้มอันดับเครดิต ?Negative? หรือ ?ลบ? สะท้อนถึงผลการดำเนินงานของบริษัทที่อ่อนแอลง

ในปี 2562 และปี 2563 ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการขาดทุนของสินค้าคงเหลือจำนวนมาก อันเนื่องมาจากราคาปิโตรเคมีที่ลดลงตามราคาน้ำมันดิบ รวมถึงความไม่แน่นอนในการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอนุภัณฑ์ (Petrochemical and Derivative Industry) นอกจากนี้ แผนการลดหนี้หลังจากการซื้อสินทรัพย์ของ Huntsman (Spindletop) ก็ยังอาจใช้เวลานานกว่าคาดอีกด้วย

อันดับเครดิต ?AA-? ยังคงสะท้อนถึงการเป็นผู้นำในธุรกิจห่วงโซ่โพลีเอสเตอร์ของบริษัท ตลอดจนความได้เปรียบในการแข่งขันจากการมีระบบการผลิตที่ครบวงจร (Vertical Integration) การมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย รวมทั้งการมีฐานการผลิตและฐานลูกค้าที่กระจายตัวอยู่ในทวีปเอเชีย อเมริกา ยุโรป อาฟริกา และออสเตรเลีย ในการพิจารณาอันดับเครดิตยังคำนึงถึงความสามารถและประสบการณ์ของคณะผู้บริหารของบริษัท รวมทั้งการเข้าถึงเทคโนโลยีสำคัญในอุตสาหกรรมอีกด้วย อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตก็มีข้อจำกัดจากความผันผวนของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีด้วยเช่นกัน

ประเด็นสำคัญที่กำหนดอันดับเครดิต

ผลการดำเนินงานที่อ่อนแอในปี 2562-2563

ผลการดำเนินงานในปี 2562 ของบริษัทอ่อนตัวลงกว่าที่ทริสเรทติ้งเคยคาดการณ์ไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 สงครามการค้าระหว่างประเทศสหรัฐฯ และจีน รวมถึงกำลังการผลิตใหม่ ๆ ที่เข้ามาในช่วงปี 2562-2563 ได้ส่งผลให้ราคาและอัตรากำไรของผลิตภัณฑ์ ปิโตรเคมีและอนุพันธ์ลดลงจนทำให้บริษัทมีผลขาดทุนจากสินค้าคงเหลือคิดเป็นจำนวน 6.6 พันล้านบาทในปี 2562 โดยกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายของบริษัทลดลง 37% เหลือ 2.9 หมื่นล้านบาทในปี 2562 และอัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายเพิ่มขึ้นเป็น 5.3 เท่า ซึ่งสูงกว่าที่ทริสเรทติ้งคาดการณ์ไว้ที่ 3-4 เท่า

สำหรับครึ่งแรกของปี 2563 บริษัทมียอดขายและกำไรที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับครึ่งหลังของปี 2562 โดยยอดขายและอัตรากำไรของกลุ่มผลิตภัณฑ์หลัก polyethylene terephthalate (PET) ของบริษัทในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ยังคงแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตามราคาและอัตรากำไรของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีและอนุพันธ์อื่น ๆ ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ซึ่งส่งผลให้อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีลดลงจากมาตรการปิดเมืองในหลายประเทศทั่วโลกในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 และแม้ว่าหลายประเทศได้เริ่มกลับมาเปิดประเทศแล้ว แต่การฟื้นตัวก็ยังคงมีความไม่แน่นอนเนื่องจากยังคงมีโอกาสที่จะเกิดการแพร่ระบาดรอบ 2 ได้ สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 นั้นบริษัทมีผลขาดทุนจากสินค้าคงเหลือจำนวน 6.7 พันล้านบาท ซึ่งทำให้บริษัทมีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายลดลง 31% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยลดลงมาเหลือ 1.18 หมื่นล้านบาท

สินทรัพย์ในกลุ่มธุรกิจออกไซด์บูรณาการและอนุพันธ์ (Integrated Oxide and Derivative Products) ที่บริษัทเพิ่งซื้อมาจาก Huntsman (หรือเรียกว่า Spindletop) เมื่อเดือนมกราคม 2563 นั้นก็มีผลประกอบการอ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากอุปสงค์ที่ลดลงของสาร MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) ซึ่งเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์หลักของ Spindletop โดย Spindletop สร้างกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายราว ๆ 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่บริษัทในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 เทียบกับที่ทริสเรทติ้ง คาดการณ์ไว้ที่ 250-300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี

ทริสเรทติ้งมองว่าแผนการลดภาระหนี้ของบริษัทอาจใช้เวลานานกว่าที่เคยประมาณการณ์ไว้ ซึ่งคาดว่าอัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 7-8 เท่าในปี 2563 ก่อนที่จะกลับมาอยู่ในระดับประมาณ 4-5 เท่าในช่วงปี 2564-2565

ความแข็งแกร่งในธุรกิจ Integrated PET

บริษัทเป็นผู้ผลิต PET แบบบูรณาการ (Integrated PET) รายใหญ่ที่สุดในโลก โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 บริษัทมีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 17.5 ล้านตันต่อปี ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจ Integrated PET 66% ธุรกิจ Integrated Oxide และผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่อง 15% ธุรกิจเส้นใยและด้าย 12% ธุรกิจเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ 5% และธุรกิจบรรจุภัณฑ์อีก 2% โดยกลยุทธ์ของบริษัทคือการขยายกำลังการผลิตในธุรกิจห่วงโซ่โพลีเอสเตอร์ตั้งแต่ธุรกิจวัตถุดิบตั้งต้น (ประกอบด้วย Paraxylene ? PX, Purified Terphthalic Acid -- PTA และ Monoethylene Glycol -- MEG) ไปจนถึงผลิตภัณฑ์อนุพันธ์ (ได้แก่ PET รวมถึง

เส้นใยและด้าย เคมีภัณฑ์อื่น ๆ และบรรจุภัณฑ์) ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทมีการกระจายฐานการผลิตทั้งที่อยู่ในรูปแบบที่สร้างขึ้นมาใหม่และการซื้อกิจการ ปัจจุบันบริษัทมีฐานการผลิตอยู่ใน 33 ประเทศซึ่งครอบคลุม 6 ทวีป ได้แก่ ทวีปเอเชีย อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป อาฟริกา และออสเตรเลีย

สำหรับกลุ่มธุรกิจ Integrated PET ของบริษัทนั้นส่วนใหญ่ตั้งอยู่ใน 3 ทวีปหลักคือ อเมริกาเหนือ เอเชีย และยุโรป การเป็นผู้ผลิตแบบครบวงจรทำให้บริษัทมีข้อได้เปรียบหลายประการไม่ว่าจะเป็นการมีต้นทุนที่แข่งขันได้ ประสิทธิภาพในการผลิต รวมถึงการมีฐานการผลิตในหลายภูมิภาคและการเข้าถึงตลาดที่กว้างขวางยิ่งขึ้น

ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (HVA) เพิ่มความสามารถในการทำกำไร

การปรับโครงสร้างธุรกิจไปสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (High Value Added -- HVA) ช่วยเพิ่มกำไรโดยรวมให้แก่บริษัท เนื่องจากผลิตภัณฑ์ HVA มีอัตรากำไรที่สูงกว่าสินค้าโภคภัณฑ์โดยทั่วไป บริษัทจึงมีอัตรากำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายในปี 2562 ที่มาจากผลิตภัณฑ์ HVA ถึงประมาณ 35% แม้ว่าผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มนี้จะมีสัดส่วนเพียง 20% ของการผลิตรวมของบริษัทก็ตาม

แสวงหาความยั่งยืน

เนื่องจากความยั่งยืนเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักของบริษัทและ PET สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (รีไซเคิล) ได้เต็ม 100% บริษัทจึงมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นหนึ่งในผู้นำด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) หรือการผลิตพลาสติกครบวงจรแบบยั่งยืน โดยบริษัทได้เข้าสู่ธุรกิจรีไซเคิลมาตั้งแต่ปี 2554 เมื่อบริษัทซื้อกิจการของ Wellman International (Wellman) ในทวีปยุโรป นับจากนั้นมาบริษัทก็ได้ดำเนินการรีไซเคิลขวด PET รวมถึงผลิตเกล็ด PET รีไซเคิลเพื่อนำไปใช้ในการผลิตเส้นใยและแผ่นพลาสติก รวมถึงยังออกผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ บริษัทยังได้นำองค์ความรู้จาก Wellman มาใช้ในการขยายกำลังการผลิตที่โรงงานของบริษัทในประเทศเม็กซิโก สหรัฐฯ และไทยด้วย ปัจจุบันบริษัทสามารถนำเกล็ด PET

รีไซเคิลมาใช้ในกระบวนการ Polymerization ได้สูงสุดถึง 30% ตามความต้องการของลูกค้า ในการนี้ บริษัทมีเป้าหมายที่

จะเพิ่มกำลังการผลิต PET รีไซเคิลให้ได้ถึง 750,000 ตันต่อปีภายในปี 2568

โรคโควิด 19 ทำให้สินทรัพย์ใหม่มีผลการดำเนินงานไม่เต็มที่

ผลการดำเนินงานของสินทรัพย์ใหม่ที่บริษัทซื้อมาจาก Huntsman (Spindletop) ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากผลการดำเนินงานเสมือนในช่วงปี 2558-2562 แล้ว Spindletop มีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 295 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ซึ่งประมาณ 45%-50% ของกำไรดังกล่าวมาจากผลิตภัณฑ์ MTBE ซึ่งสาร MTBE นั้นใช้ผสมกับน้ำมันเบนซินเพื่อเพิ่มค่าออกเทน อัตรากำไรของ MTBE นั้นลดลงในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 เนื่องจากอุปสงค์ของน้ำมันเบนซินที่ลดลงจากมาตรการปิดเมืองในหลายประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 และส่งผลทำให้การคมนาคมหยุดชะงัก นอกจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 แล้ว โรงงาน MTBE ของ Spindletop ยังได้หยุดดำเนินงานนานถึง 75 วันเพื่อทำการซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 อีกด้วย โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 นั้น Spindletop สร้างกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายให้แก่บริษัทจำนวน 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 1.2 พันล้านบาท) ทั้งนี้ ทริสเรทติ้ง มองว่าอุปสงค์ของ MTBE นั้นน่าจะค่อย ๆ ฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ได้ผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองแล้ว

มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพของกำไร

ตั้งแต่ปลายปี 2562 เป็นต้นมา บริษัทได้ริเริ่มกลยุทธ์ในการเน้นคุณภาพของกำไรจากสินทรัพย์เดิมหลังจากที่บริษัทได้ซื้อกิจการมาหลายแห่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยกลยุทธ์ดังกล่าวมุ่งเน้นที่จะเพิ่มการใช้กำลังการผลิตและเสถียรภาพในการผลิตของแต่ละโรงงาน ตลอดจนบริหารจัดการระดับสินค้าคงเหลือให้เหมาะสมผ่านการบริหารห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง ในการนี้ บริษัทคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการริเริ่มนี้ประมาณ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปีตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป

กำไรจะดีขึ้นในปี 2564

ทริสเรทติ้งประมาณการว่าบริษัทจะมีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 5-5.5 หมื่นล้านบาทต่อปีในช่วงปี 2564-2566 กำไรที่เพิ่มขึ้นนี้สะท้อนถึงมุมมองของทริสเรทติ้งซึ่งคาดว่าบริษัทจะมีการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 15-16 ล้านตันต่อปีในปี 2564-2566 จาก 12.3 ล้านตันในปี 2562 ทริสเรทติ้งประมาณการว่าส่วนต่างของราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีและอนุพันธ์ต่าง ๆ จะค่อย ๆ ฟื้นตัว โดยกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายหลักต่อตันของการผลิตโดยรวมของบริษัทจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ในช่วง 105-110 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงประมาณการดังกล่าว

สำหรับในปี 2563 นั้น ทริสเรทติ้งประมาณการว่าบริษัทจะมีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายอยู่ที่ราว ๆ 2.9-3 หมื่นล้านบาทซึ่งใกล้เคียงกับในปี 2562 โดยอยู่ภายใต้สมมติฐานว่าบริษัทจะไม่มีผลขาดทุนเพิ่มเติมจากสินค้าคงเหลือในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายหลักต่อตันการผลิตนั้นน่าจะลดลงจากครึ่งแรกของปีเนื่องจากโรงงานของบริษัทบางแห่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น กรณีฟ้าผ่าที่โรงงานแยกเอทิลีนและการหยุดดำเนินงานชั่วคราวของโรงงาน Spindletop ที่ Port Neches ในประเทศสหรัฐฯ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากพายุเฮอริเคน Laura

คาดว่าภาระหนี้จะลดลงในปี 2565

ทริสเรทติ้งมองว่าบริษัทอาจจะต้องใช้เวลานานขึ้นในการที่จะรับรู้ผลประโยชน์จาก Spindletop โดย ณ เดือนมิถุนายน 2563 บริษัทมีหนี้สินทางการเงินที่ปรับปรุงแล้วอยู่ที่จำนวน 2.17 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 1.54 แสนล้านบาท ณ สิ้นปี 2562 หนี้สินทางการเงินที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่มาจากการซื้อกิจการของ Spindletop ในเดือนมกราคม 2563 โดยอัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อเงินทุนของบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 62.9% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 ทั้งนี้ จากประมาณการของทริสเรทติ้งคาดว่าอัตราส่วนดังกล่าวจะปรับตัวดีขึ้นโดยจะอยู่ที่ประมาณ 55% ในปี 2566 ในขณะที่อัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายนั้นคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 7-8 เท่าในปี 2563 และจะทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 4-5 เท่าในปี 2564-2565

มีสภาพคล่องที่เพียงพอ

ทริสเรทติ้งมองว่าบริษัทมีสภาพคล่องที่เพียงพอสำหรับการบริหารจัดการเงินกู้ที่จะครบกำหนดในระยะ 12 เดือนข้างหน้าได้ โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 บริษัทรายงานยอดเงินกู้รวมอยู่ที่ประมาณ 2.25 แสนล้านบาทโดยที่จำนวน 2.9 หมื่นล้านบาทเป็นเงินกู้ยืมระยะสั้น ในระยะ 12 เดือนข้างหน้า บริษัทจะมีเงินกู้ยืมระยะยาวและหุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระรวมทั้งสิ้นประมาณ 2.11 หมื่นล้านบาท โดยเงินกู้จำนวนนี้สามารถชำระคืนได้โดยใช้เงินสดที่มีอยู่ในมือของบริษัทจำนวน 2.26 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 และเงินทุนจากการดำเนินงานในระยะ 12 เดือนข้างหน้าที่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท

สมมติฐานกรณีพื้นฐาน

? กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายหลักต่อตันจะอยู่ในช่วง 80-85 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2563 และ 105-110 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในระหว่างปี 2564-2566

? บริษัทจะมีผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 15-16 ล้านตันต่อปีในระหว่างปี 2564-2566

? การซื้อกิจการของ Spindletop ในเดือนมกราคม 2563 มีมูลค่าอยู่ที่ 5.29 หมื่นล้านบาท

? เงินลงทุนสำหรับการบำรุงรักษาและการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสำหรับโรงงานปัจจุบันและโรงงานรีไซเคิล PET รวมถึงสำหรับการปรับปรุงคุณภาพกำไรจะอยู่ที่ประมาณ 9.46 หมื่นล้านบาทในช่วงปี 2563-2566

แนวโน้มอันดับเครดิต

แนวโน้มอันดับเครดิต ?Negative? หรือ ?ลบ? สะท้อนถึงมุมมองของทริสเรทติ้งว่าบริษัทน่าจะยังคงเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินงานต่อไปในช่วงปี 2563-2564 จากความไม่แน่นอนของแนวโน้มการฟื้นตัวของของอุสาหกรรมปิโตรเคมีและอนุพันธ์

ปัจจัยที่อาจทำให้อันดับเครดิตเปลี่ยนแปลง

แนวโน้มอันดับเครดิตอาจปรับมาเป็น ?Stable? หรือ ?คงที่? หากผลการดำเนินงานของบริษัทฟื้นตัวได้เร็ว จนทำให้อัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 4 เท่าอย่างต่อเนื่อง ในทางตรงกันข้าม อันดับเครดิตของบริษัทอาจปรับลดลงหากสถานะทางการเงินของบริษัทอ่อนแอลงไปมากกว่านี้ หรือการฟื้นตัวของการสร้างผลกำไรต้องใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้

เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตที่เกี่ยวข้อง

- วิธีการจัดอันดับเครดิตธุรกิจทั่วไป, 26 กรกฎาคม 2562

- เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน (Hybrid Securities), 12 กันยายน 2561

- อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญและการปรับปรุงตัวเลขทางการเงิน, 5 กันยายน 2561

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) (IVL)

อันดับเครดิตองค์กร: AA-

อันดับเครดิตตราสารหนี้:

IVL20DA: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 880 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2563 AA-

IVL216A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 3,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2564 AA-

IVL21OA: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 37 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2564 AA-

IVL21OB: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 3,163 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2564 AA-

IVL21OC: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 300 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2564 AA-

IVL224A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,250.5 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2565 AA-

IVL224B: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,649.5 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2565 AA-

IVL225A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2565 AA-

IVL22DA: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,645 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2565 AA-

IVL236A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,100 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2566 AA-

IVL236B: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 3,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2566 AA-

IVL243A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,400 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 AA-

IVL245A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 AA-

IVL24NA: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 300 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 AA-

IVL24DA: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,475 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 AA-

IVL256A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2568 AA-

IVL25DA: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,150 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2568 AA-

IVL26OA: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 200 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2569 AA-

IVL275A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2570 AA-

IVL27NA: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 700 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2570 AA-

IVL286A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,800 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2571 AA-

IVL28OA: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,200 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2571 AA-

IVL295A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2572 AA-

IVL306A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 5,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2573 AA-

IVL31OA: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,300 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2574 AA-

IVL32NA: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2575 AA-

IVL336A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 3,200 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2576 AA-

IVL19PA: หุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุน 15,000 ล้านบาท A

หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ในวงเงินไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ไถ่ถอนภายในปี 15 ปี

ภายใต้โครงการออกหุ้นกู้ปี 2563 AA-

แนวโน้มอันดับเครดิต: Negative

บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด/ www.trisrating.com
ติดต่อ santaya@trisrating.com โทร. 0-2098-3000 อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น 24 191 ถ. สีลม กรุงเทพฯ 10500
? บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2563 ห้ามมิให้บุคคลใด ใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต ไม่ว่าทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ก่อน การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำแถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอแนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะอื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควรประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิตนี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้ ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงไม่รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้นผลที่ได้รับหรือการกระทำใดๆโดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ รายละเอียดของวิธีการจัดอันดับเครดิตของ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เผยแพร่อยู่บน Website: http://www.trisrating.com/th/rating-information-th2/rating-criteria.html

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ