ทริสเรทติ้งลดอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันของ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) ลงมาอยู่ที่ระดับ ?A+? จากเดิมที่ระดับ ?AA? พร้อมทั้งยกเลิก?เครดิตพินิจ? สำหรับอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ทั้งหมดของบริษัท และกำหนดแนวโน้มอันดับเครดิตเป็น ?Stable? หรือ ?คงที่?
การปรับลดอันดับเครดิตดังกล่าวสืบเนื่องมาจากการที่ทริสเรทติ้งจัดอันดับเครดิตองค์กรที่ระดับ ?A+/Stable? ให้แก่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ DTN ทั้งนี้ TRUE เป็นบริษัทที่เกิดจากการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC) กับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เดิมก่อนควบรวมกิจการ (TRUEE)
ณ วันที่ 1 มีนาคม 2566 TRUEE และ DTAC ได้ประกาศว่าการควบรวมกิจการของทั้งสองบริษัทเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดของ DTAC ได้ถูกโอนไปเป็นของ TRUE ส่งผลให้ DTN กลายเป็นบริษัทย่อยของ TRUE ในขณะที่หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันของบริษัทยังคงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง
ทริสเรทติ้งประเมินว่า DTN มีสถานะเป็นบริษัทย่อยหลักของ TRUE ทั้งนี้ ตาม ?เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตกลุ่มธุรกิจ? ของทริสเรทติ้ง อันดับเครดิตของ DTN ในฐานะที่เป็นบริษัทย่อยหลักจึงเท่ากับอันดับเครดิตของ TRUE ซึ่งเป็นบริษัทแม่
ประเด็นสำคัญที่กำหนดอันดับเครดิต
สถานะเครดิตของบริษัทที่เกิดจากการควบรวมกิจการ
อันดับเครดิตองค์กรของ TRUE ที่ระดับ ?A+? สะท้อนถึงสถานะผู้นำทางการตลาดในธุรกิจให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมแบบไร้สายและธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศไทย ตลอดจนความแข็งแกร่งของโครงข่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศ การมีคลื่นความถี่ในการให้บริการที่หลากหลาย และการมีแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี
TRUE ประกอบธุรกิจที่หลากหลายโดยครอบคลุมธุรกิจให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมแบบไร้สาย ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกและ ธุรกิจให้บริการด้านดิจิทัล ทั้งนี้ ธุรกิจให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมแบบไร้สายของ TRUE มี DTN และ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TUC) เป็นผู้ให้บริการเป็นหลัก ซึ่งส่งผลให้ TRUE มีส่วนแบ่งตลาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบันที่ราว 53% ในแง่รายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
ทริสเรทติ้งมองว่า TRUE ได้กลายมาเป็นผู้ประกอบการที่แข็งแกร่งมากในธุรกิจโทรคมนาคมในประเทศไทยด้วยการมีขอบเขตธุรกิจขนาดใหญ่และมีสถานะเป็นผู้นำในการแข่งขัน ทั้งนี้ ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งมองว่าขนาดของธุรกิจที่ใหญ่นั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขันโดยช่วยให้บริษัทสามารถขยายการลงทุนได้อย่างต่อเนื่องในโครงข่าย คลื่นความถี่ และมีความพร้อมในการเข้าสู่การให้บริการในระบบดิจิทัลได้เป็นอย่างดี ในการนี้ ทริสเรทติ้งเชื่อว่า TRUE จะเร่งดำเนินการให้ประโยชน์จากการควบรวมกิจการที่ตั้งเป้าหมายไว้และการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานเกิดขึ้นโดยเร็ว
อย่างไรก็ตาม ทริสเรทติ้งเห็นว่าประโยชน์ที่จะได้รับอย่างเต็มที่จากการควบรวมกิจการนั้นอาจต้องใช้เวลากว่าจะเห็นผลสำเร็จ โดย TRUE ยังคงต้องบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการควบรวมกิจการในระยะอันใกล้นี้ นอกจากนี้ ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมและระดับหนี้สินทางการเงินที่สูงของบริษัท จะเป็นข้อจำกัดต่อสถานะเครดิต ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งคาดว่าอัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ของ TRUE จะอยู่ที่ระดับ 5.3-6.4 เท่าในช่วงระหว่างปี 2566-2568
DTN มีสถานะเป็นบริษัทย่อยหลักของ TRUE
TRUE เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดของ DTN ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งประเมินว่า DTN มีสถานะเป็นบริษัทย่อยหลักของ TRUE เนื่องจากบริษัทมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ดำเนินการหลักในการให้บริการธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ TRUE โดยบริษัทเป็นเจ้าของใบอนุญาตในการใช้คลื่นความถี่ในการให้บริการสำหรับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งประกอบด้วย ย่านความถี่ต่ำซึ่งบริษัทมีคลื่นความถี่ขนาด 700 เมกะเฮิรตซ์ (Megahertz ? MHz) และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ส่วนย่านความถี่ปานกลางนั้นบริษัทมีคลื่นความถี่ขนาด 1800 เมกะเฮิรตซ์ ขนาด 2100 เมกะเฮิรตซ์ และขนาด 2300 เมกะเฮิรตซ์ (เป็นพันธมิตรกับ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)) และย่านความถี่สูงซึ่งบริษัทมีคลื่นความถี่ขนาด 26 กิ๊กกะเฮิรตซ์ (Gigahertz -- GHz)
ณ เดือนธันวาคม 2565 จำนวนผู้ใช้บริการ DTAC และ TRUEE รวมกันแล้วอยู่ที่จำนวน 55 ล้านราย โดยมีรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รวมกันอยู่ที่ระดับ 1.35 แสนล้านบาท ทั้งนี้ DTN มีผู้ใช้บริการจำนวน 21.2 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 39% ของจำนวนผู้ใช้บริการของ TRUE ในการนี้ ทริสเรทติ้งคาดว่า DTN จะมีสัดส่วนรายได้อยู่ที่ราว ๆ 34% ของรายได้รวมของ TRUE และจะมีสัดส่วน EBITDA อยู่ที่ระดับ 25% ของ EBITDA ของ TRUE
นอกจากนี้ มุมมองของทริสเรทติ้งที่เห็นว่า DTN เป็นบริษัทย่อยหลักของ TRUE นั้นยังได้พิจารณาถึงการดำเนินงานร่วมกัน ตลอดจนความสอดคล้องในด้านกลยุทธ์ธุรกิจและนโยบายทางการเงินที่เชื่อมโยงกับบริษัทแม่ด้วย ซึ่งการที่บริษัทมีการสร้างรายได้ในสัดส่วนที่สำคัญและมีสินทรัพย์หลักในการดำเนินงานก็ทำให้ทริสเรทติ้งจึงเชื่อว่า TRUE จะให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษในยามที่บริษัทประสบปัญหา
?
การแข่งขันที่รุนแรงยังคงอยู่
ในขณะที่จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่รายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้ (Average Revenue per User -- ARPU) กลับลดลงอย่างต่อเนื่องแม้ภาวะเศรษฐกิจภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) จะเริ่มปรับตัวดีขึ้นก็ตาม โดยในปี 2565 ตลาดสื่อสารแบบไร้สายในประเทศไทยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ประมาณ 2.51 แสนล้านบาท ลดลงประมาณ 0.7% จากปีก่อน
การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติและการผ่อนคลายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในแถบชายแดนของทางภาครัฐมีส่วนช่วยทำให้จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวและแรงงานอพยพ อย่างไรก็ตาม ทริสเรทติ้งคาดว่าตลาดในปี 2566 มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่อ่อนแอลงซึ่งเป็นผลมาจากอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น โดยทริสเรทติ้งคาดว่าการแข่งขันในตลาดจะยังคงมีความรุนแรงแต่น่าจะมีความสมเหตุสมผลมากขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้าเนื่องจากการควบรวมกิจการจะทำให้ตลาดเหลือผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่เพียง 2 รายเท่านั้น นอกจากนี้ ทริสเรทติ้งยังคาดว่าอุปสงค์ในการใช้บริการด้านข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการเข้าถึงอุปกรณ์สื่อสารที่รองรับเทคโนโลยี 5G ซึ่งมีราคาไม่แพงได้ง่ายขึ้นจะเป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่ม ARPU ได้ในช่วง 3 ปีข้างหน้า
ความสามารถในการทำกำไรยังคงมีแรงกดดันแม้คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น
ทริสเรทติ้งคาดว่าความสามารถในการทำกำไรเฉพาะในส่วนของ DTN นั้นจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับของ TRUE โดยคาดว่ารายได้ของบริษัทในปี 2566 จะได้รับผลกระทบจากมาตรการเยียวยาของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในขณะเดียวกันทริสเรทติ้งก็คาดว่าประโยชน์จากการควบรวมกิจการจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากการลดลงของรายได้โดยคาดว่าประโยชน์ที่ DTN จะได้จากการควบรวมกิจการที่สามารถเกิดขึ้นได้ทันทีในปี 2566 คือการลดลงของเงินลงทุน โดย TUC และ DTN สามารถใช้อุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายร่วมกัน อีกทั้ง DTN ยังสามารถขยายความครอบคลุมของโครงข่ายและประสิทธิภาพของสัญญาณด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย สื่อต่าง ๆ หรือร้านค้าที่ให้บริการสามารถรวมกันได้เพื่อลดต้นทุนในการบริหาร ในขณะที่การใช้วิธีการจัดซื้อสินค้าร่วมกันในปริมาณมากจะทำให้เพิ่มอำนาจในการต่อรองให้สูงขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ทริสเรทติ้งคาดว่าการประหยัดต้นทุนในการดำเนินงานจะค่อย ๆ เกิดขึ้นตลอดช่วงเวลาประมาณการ
จากสมมติฐานกรณีพื้นฐานของทริสเรทติ้ง รายได้จากการให้บริการของ DTN คาดว่าจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 15% ในปี 2566 และจะทยอยเพิ่มขึ้นที่ระดับ 1%-2% ต่อปีในช่วงระหว่างปี 2567-2568 โดยรายได้จากการดำเนินงานรวมจะอยู่ที่ระดับ 6.2-6.6 หมื่นล้านบาทต่อปี ทริสเรทติ้งคาดว่า EBITDA ของ DTN จะลดลงมาอยู่ที่ 1.5 หมื่นล้านบาทในปี 2566 โดยลดลงจาก 2.1 หมื่นล้านบาทในปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม EBITDA น่าจะค่อย ๆ ดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1.8-2.1 หมื่นล้านบาทต่อปีในช่วงระหว่างปี 2567-2568
การใช้โครงข่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุดคาดว่าจะเกิดขึ้นภายหลังจากการควบรวมกิจการ ทริสเรทติ้งจึงคาดว่าเงินลงทุนเพื่อใช้ในการขยายโครงข่ายของ DTN จะลดลงในช่วงประมาณการ หรือมาอยู่ที่ประมาณ 5-7 พันล้านบาทต่อปี โดยในระหว่างปี 2566-2568 ทริสเรทติ้งคาดว่าบริษัทจะมีภาระในการจ่ายชำระค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่โดยรวมที่ระดับ 2.17 หมื่นล้านบาท ในขณะที่บริษัทมีแผนจะลงทุนเพิ่มสำหรับใบอนุญาตคลื่นความถี่ในปี 2568 เนื่องจากสัญญาการใช้คลื่นความถี่ 2300 เมกะเฮิรตซ์ที่มีกับบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติจะสิ้นสุดลง ในการนี้ ทริสเรทติ้งคาดว่าอัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อ EBITDA ของบริษัทจะเพิ่มขึ้นเป็น 7 เท่าในปี 2566 ก่อนที่จะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 5-6 เท่าในช่วงระหว่างปี 2567-2568
มีสถานะสภาพคล่องที่เพียงพอ
ทริสเรทติ้งประเมินว่าสภาพคล่องของ DTN จะมีเพียงพอในระยะ 12 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 บริษัทมีแหล่งเงินทุนซึ่งประกอบด้วยเงินสดจำนวน 4 พันล้านบาทและวงเงินสินเชื่อที่ยังไม่ได้เบิกใช้จากธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ อีก 1.8 หมื่นล้านบาท รวมถึงเงินทุนจากการดำเนินงานที่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาทในช่วง 12 เดือนข้างหน้า
ณ เดือนกันยายน 2565 บริษัทมีหนี้ที่จะครบกำหนดชำระในช่วงเวลา 12 เดือนข้างหน้าจำนวน 1.3 หมื่นล้านบาทซึ่งประกอบด้วยหุ้นกู้จำนวน 6 พันล้านบาท เงินกู้ยืมจากธนาคารจำนวน 2 พันล้านบาท และหนี้สินตามสัญญาเช่าอีกจำนวน 4.5 พันล้านบาท ในขณะที่ทริสเรทติ้งประมาณการว่าบริษัทจะใช้เงินลงทุนที่จำนวน 7 พันล้านบาทและจะต้องชำระค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่อีกจำนวน 5.6 พันล้านบาทในปี 2566 ส่วนการจ่ายเงินปันผลระหว่างปีประมาณการนั้นคาดว่าจะยังไม่มี
สมมติฐานกรณีพื้นฐาน
? DTN จะยังคงมีสถานะเป็นบริษัทลูกหลักของ TRUE
แนวโน้มอันดับเครดิต
แนวโน้มอันดับเครดิต ?Stable? หรือ ?คงที่? เป็นไปตามแนวโน้มอันดับเครดิตของ TRUE ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งยังคาดหวังว่าสถานะของบริษัทในการเป็นบริษัทย่อยหลักของ TRUE จะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงในระยะใกล้นี้
ปัจจัยที่อาจทำให้อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินเปลี่ยนแปลง
เมื่อพิจารณาตาม ?เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตกลุ่มธุรกิจ? ของทริสเรทติ้งแล้ว อันดับเครดิตของ DTN มีระดับเท่ากับและจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกับอันดับเครดิตของ TRUE ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในอันดับเครดิตและ/หรือแนวโน้มอันดับเครดิตของ TRUE จะส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตและ/หรือแนวโน้มอันดับเครดิตของ DTN ในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ทำให้มุมมองของทริสเรทติ้งที่มีต่อระดับการสนับสนุนที่ DTN จะได้รับจาก TRUE หรือต่อสถานะของ DTN ในกลุ่มก็อาจเป็นปัจจัยในด้านลบต่ออันดับเครดิตของ DTN อีกด้วย
เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตที่เกี่ยวข้อง
- เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตกลุ่มธุรกิจ, 7 กันยายน 2565
- เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตธุรกิจทั่วไป, 15 กรกฎาคม 2565
- อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญและการปรับปรุงตัวเลขทางการเงินสำหรับธุรกิจทั่วไป, 11 มกราคม 2565
- เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตตราสารหนี้, 15 มิถุนายน 2564
บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN)
อันดับเครดิตองค์กร: A+
อันดับเครดิตตราสารหนี้:
DTN237A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2566 A+
DTN239A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 4,500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2566 A+
DTN241A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 3,881.90 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 A+
DTN244A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 A+
DTN247A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 A+
DTN249A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 A+
DTN257A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 6,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2568 A+
DTN257B: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,301.50 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2568 A+
DTN259A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2568 A+
DTN267A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2569 A+
DTN267B: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2569 A+
DTN269A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2569 A+
DTN274A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 5,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2570 A+
DTN277A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,557.30 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2570 A+
DTN279A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2570 A+
DTN279B: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2570 A+
DTN289A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2571 A+
DTN28DA: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 3,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2571 A+
DTN297A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 958.50ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2572 A+
DTN299A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2572 A+
DTN309A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2573 A+
DTN317A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,171.80 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2574 A+
DTN319A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2574 A+
แนวโน้มอันดับเครดิต: Stable