ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตหุ้นกู้มีการค้ำประกันของ บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด (TLT หรือผู้ออกหุ้นกู้) ภายใต้ Medium-term Debenture Program ในวงเงิน 6 หมื่นล้านบาทที่ระดับ ?AAA? พร้อมทั้งคงอันดับเครดิตหุ้นกู้มีการค้ำประกันทั้งระยะยาวและระยะสั้นในวงเงิน 1.3 แสนล้านบาทภายใต้โครงการหุ้นกู้สกุลเงินบาท ปี พ.ศ. 2561 ในวงเงิน 1.3 แสนล้านบาทภายใต้โครงการหุ้นกู้สกุลเงินบาท ปี พ.ศ. 2563 และในวงเงิน 1.3 แสนล้านบาทภายใต้โครงการหุ้นกู้สกุลเงินบาท ปี พ.ศ. 2565 ของบริษัทที่ระดับ ?AAA? และ ?T1+?
นอกจากนี้ ทริสเรทติ้งยังจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้มีการค้ำประกันทั้งระยะยาวและระยะสั้นชุดใหม่ในวงเงินไม่เกิน 5 พันล้านบาทอายุไม่เกิน 5 ปีภายใต้โครงการการออกและเสนอขายหุ้นกู้ผ่านระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructure Project -- DIF) ที่ระดับ ?AAA? และ ?T1+? ด้วย
หุ้นกู้ทั้งหมดของบริษัทได้รับการค้ำประกันโดย Toyota Motor Finance (Netherlands) B.V. (TMF หรือผู้ค้ำประกัน) โดย TMF เป็นบริษัทลูกของ Toyota Financial Service Corporation (TFS) ที่ถือหุ้น 100% โดย Toyota Motor Corporation (TMC) ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มโตโยต้า บริษัททั้ง 3 แห่งคือ TMF TFS และ TMC ได้รับการจัดอันดับเครดิตที่ระดับ ?A+? พร้อมแนวโน้มอันดับเครดิต ?Stable? หรือ ?คงที่? รวมทั้งได้รับการจัดอันดับเครดิตตราสารหนี้ระยะสั้นที่ระดับ ?A-1+? จาก S&P Global Ratings ด้วย
ทริสเรทติ้งเชื่อว่า TMC จะยังคงสามารถรักษาสถานะทางการตลาดที่มีความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมผู้ผลิตรถยนต์ต่อไปได้โดยมีปัจจัยสนับสนุนคือการมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย การมีตลาดที่ครอบคลุมทั่วโลก และการเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยี ทั้งนี้ TMC มีส่วนแบ่งทางการตลาดของยอดขายรถยนต์ทั่วโลกที่ประมาณ 12% ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยบริษัทมียอดขายรถยนต์รวมทั้งสิ้นประมาณ 8.23 ล้านคันในรอบปีบัญชี 2565 (เมษายน 2564-มีนาคม 2565) โดยเพิ่มขึ้นถึง 8% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และในช่วง 9 เดือนแรกของรอบปีบัญชี 2566 (เมษายน-ธันวาคม 2565) ยอดขายของบริษัทยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับยอดขายในช่วงเดียวกันชองปีก่อนหน้า โดยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6.4 ล้านคัน ซึ่งยอดขายที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้นมีสาเหตุเนื่องมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลกจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว
ทริสเรทติ้งคาดว่า TMC จะยังคงรักษาผลกำไรที่แข็งแกร่งเอาไว้ต่อไปได้ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าจากความพยายามอย่างต่อเนื่องในการลดต้นทุนและจากการออกรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง กำไรจากการดำเนินงานของบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านล้านเยนในรอบปีบัญชี 2565 หรือเพิ่มขึ้น 36% จากระดับ 2.2 ล้านล้านเยนในรอบปีบัญชี 2564 ซึ่งเป็นผลมาจากยอดขายรถยนต์รวมที่ค่อย ๆ ฟื้นตัวและกลยุทธ์ในการลดต้นทุนของบริษัท อย่างไรก็ตาม รายได้จากการดำเนินงานของบริษัทลดลงมาอยู่ที่ 2.1 ล้านล้านเยนในช่วง 9 เดือนแรกของรอบปีบัญชี 2566 โดยลดลง 17% จากช่วงเดียวกันของรอบปีบัญชี 2565 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนและราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
TMC มีการดำเนินนโยบายทางการเงินที่ระมัดระวังและรักษาระดับความเสี่ยงทางการเงินให้ต่ำไว้มาโดยตลอด บริษัทมีสถานะสภาพคล่องที่แข็งแกร่งโดยมีสถานะเงินสดสุทธิที่มีนัยสำคัญ อีกทั้งยังมีเงินสดสำรองจำนวนมากและมีสินทรัพย์สภาพคล่องที่มีคุณภาพสูง นอกจากนี้ บริษัทยังมีแหล่งเงินทุนที่หลากหลายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศซึ่งอยู่ในรูปของเงินกู้ธนาคาร หุ้นกู้ และตราสารหนี้ระยะสั้น (Commercial Papers) อีกด้วย
อันดับเครดิตหุ้นกู้ระยะสั้นและระยะยาวของ TLT สะท้อนถึงการค้ำประกันแบบไม่มีเงื่อนไขและไม่สามารถเพิกถอนได้ของ TMF ซึ่งอันดับเครดิตของ TMF นั้นขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งด้านเครดิตของ TMC ทั้งนี้ ภายใต้โครงสร้างการค้ำประกันดังกล่าว TMC มีสัญญาให้การสนับสนุนสินเชื่อ (Credit Support Agreement -- CSA) แก่ TFS ในขณะเดียวกัน TFS ก็ได้มีสัญญา CSA กับ TMF ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขของสัญญา CSA ดังกล่าว TMC จะสนับสนุนสภาพคล่องทางการเงินที่เพียงพอสำหรับรองรับภาระหนี้หุ้นกู้ พันธบัตร และตราสารทางการเงินอื่น ๆ ของบริษัทลูกทั้ง 2 รายซึ่งได้แก่ TFS และ TMF นอกจากนี้ TMC ยังจะเป็นผู้จัดหาสภาพคล่องทางการเงินที่เพียงพอสำหรับเงื่อนไขการค้ำประกันของ TMF อีกด้วย
ทั้งนี้ การค้ำประกันของ TMF บังคับใช้ภายใต้กฎหมายของประเทศเนเธอร์แลนด์โดยเป็นการค้ำประกันแบบไม่มีเงื่อนไขและไม่สามารถเพิกถอนได้ ซึ่งผู้ค้ำประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบในการชำระคืนหนี้ตามกำหนดเวลาของหุ้นกู้แต่ละชุดที่ออกให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ของ TLT สำหรับหุ้นกู้ที่มีการค้ำประกันนั้น ภาระการค้ำประกันของ TMF มีสถานะทางกฎหมายอยู่ในระดับเดียวกับตราสารหนี้ไม่มีประกันและไม่ด้อยสิทธิอื่น ๆ ทั้งหมดของผู้ค้ำประกันที่ออกทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหรือเพิกถอนได้โดยปราศจากการยินยอมทั้งจากตัวแทนผู้ถือหุ้นกู้และผู้ค้ำประกันคือ TMF
ผู้ค้ำประกันจะไม่มีภาระในการชำระหนี้แทนในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถชำระหนี้ด้วยเหตุอันเกิดจากการเข้าแทรกแซงหรือการกระทำต่าง ๆ ดังนี้
(1) โดยองค์กรใด ๆ ของรัฐบาลไทย: (i) ในการขัดขวางการชำระหนี้โดยทำให้ผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถโอนเงิน หรือแปลงเงินตราต่างประเทศเป็นสกุลเงินที่ต้องชำระหนี้ตามเงื่อนไขของหุ้นกู้ไปให้นายทะเบียนหรือผู้ถือหุ้นกู้ทำการจ่ายชำระได้ (ii) ทำให้ต้องมีการโอนการถือหุ้นข้างมาก หรือควบคุมผู้ออกหุ้นกู้ให้โอนหุ้นข้างมากดังกล่าวไปยังบุคคลที่สามซึ่งมิใช่สมาชิกของกลุ่มโตโยต้า (iii) การเวนคืนหรือการโอนซึ่งทรัพย์สินของผู้ออกหุ้นกู้ให้เป็นของรัฐซึ่งมีมูลค่ารวมอย่างน้อย 10% ของมูลค่าสุทธิของสินเชื่อเช่าซื้อสุทธิของผู้ออกหุ้นกู้และบริษัทลูกของผู้ออกหุ้นกู้ และ (iv) การเวนคืนหรือการโอนทรัพย์สินให้เป็นของรัฐอันมีผลทำให้ผู้ออกหุ้นกู้และบริษัทลูกของผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถประกอบธุรกิจได้
(2) โดยองค์กรผู้ดำเนินมาตรการ (Sanction Authority): หากผู้ค้ำประกันถูกห้ามให้ชำระเงินภายใต้กฎหมายหรือกฎเกณฑ์การลงโทษหรือการโต้ตอบทางการค้า ทางเศรษฐกิจ หรือทางการเงิน หรือการห้ามการนำเข้าส่งออกหรือทำการค้ากับต่างประเทศ หรือมาตรการควบคุมจำกัดต่าง ๆ ที่องค์กรผู้ดำเนินมาตรการได้บัญญัติขึ้นหรือใช้บังคับ
ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งเห็นว่าโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นมีน้อยมาก
สมมติฐานกรณีพื้นฐาน
? อันดับเครดิตของ TMC ที่จัดโดย S&P Global Ratings จะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
? จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการค้ำประกันแบบไม่มีเงื่อนไขและไม่สามารถเพิกถอนได้ของ TMF ที่มีต่อหุ้นกู้ของ TLT
แนวโน้มอันดับเครดิต
แนวโน้มอันดับเครดิต ?Stable? หรือ ?คงที่? สะท้อนถึงสถานะเครดิตของ TMF ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหุ้นกู้ของ TLT ทั้งนี้ สถานะเครดิตของ TMF สะท้อนถึงสถานะเครดิตของบริษัทแม่ลำดับสุดท้ายคือ TMC โดยอันดับเครดิตองค์กรในปัจจุบันของ TMC ในระบบ International Scale ที่ระดับ ?A+/Stable? ซึ่งจัดโดย S&P Global Ratings นั้นยังคงสะท้อนถึงสถานะเครดิตที่แข็งแกร่งของ TMC ต่อไป
ปัจจัยที่อาจทำให้อันดับเครดิตเปลี่ยนแปลง
อันดับเครดิตและ/หรือแนวโน้มอันดับเครดิตหุ้นกู้มีการค้ำประกันของ TLT อาจมีการปรับลดลงในกรณีที่สถานะเครดิตของ TMC อ่อนแอลงอย่างมีนัยสำคัญ
เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตที่เกี่ยวข้อง
- เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตกลุ่มธุรกิจ, 7 กันยายน 2565
- อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญและการปรับปรุงตัวเลขทางการเงินสำหรับธุรกิจทั่วไป, 11 มกราคม 2565
- เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตตราสารหนี้, 15 มิถุนายน 2564
- เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร, 17 กุมภาพันธ์ 2563
- เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตตราสารหนี้, 15 มิถุนายน 2564
- เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร, 17 กุมภาพันธ์ 2563
- วิธีการจัดอันดับเครดิตธุรกิจทั่วไป, 26 กรกฎาคม 2562
บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด (TLT)
อันดับเครดิตตราสารหนี้:
หุ้นกู้มีการค้ำประกันในวงเงิน 60,000 ล้านบาท ภายใต้ Medium-term Debenture Program:
- TLT235A: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 1,500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2566 AAA
- TLT24OA: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 3,500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 AAA
- TLT255A: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 1,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2568 AAA
หุ้นกู้มีการค้ำประกันในวงเงินไม่เกิน 130,000 ล้านบาท ภายใต้โครงการหุ้นกู้สกุลเงินบาท ปี พ.ศ. 2561:
หุ้นกู้ระยะยาวมีการค้ำประกัน AAA
TLT237A: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 2,100 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2566 AAA
หุ้นกู้ระยะสั้นมีการค้ำประกัน T1+
หุ้นกู้มีการค้ำประกันในวงเงินไม่เกิน 130,000 ล้านบาท ภายใต้โครงการหุ้นกู้สกุลเงินบาท ปี พ.ศ. 2563:
หุ้นกู้ระยะยาวมีการค้ำประกัน AAA
TLT234A: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 3,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2566 AAA
TLT235B: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 2,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2566 AAA
TLT23NA: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 2,200 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2566 AAA
TLT23NB: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 1,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2566 AAA
TLT242A: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 1,800 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 AAA
TLT243A: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 3,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 AAA
TLT245A: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 2,910 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 AAA
TLT248A: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 2,600 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 AAA
TLT24NA: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 3,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 AAA
TLT253A: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 1,500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2568 AAA
TLT255B: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 2,900 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2568 AAA
TLT256A: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 2,580 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2568 AAA
TLT258A: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 1,200 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2568 AAA
TLT258B: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 2,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2568 AAA
TLT263A: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 1,500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2569 AAA
TLT265A: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 2,900 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2569 AAA
TLT285A: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 1,290 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2571 AAA
หุ้นกู้ระยะสั้นมีการค้ำประกัน T1+
หุ้นกู้มีการค้ำประกันในวงเงินไม่เกิน 130,000 ล้านบาท ภายใต้โครงการหุ้นกู้สกุลเงินบาท ปี พ.ศ. 2565:
หุ้นกู้ระยะยาวมีการค้ำประกัน AAA
TLT24DA: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 1,400 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 AAA
TLT252A: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 3,297 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2568 AAA
TLT25DA: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 5,100 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2568 AAA
TLT262A: หุ้นกู้มีการค้ำประกัน 3,568 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2569 AAA
หุ้นกู้ระยะสั้นมีการค้ำประกัน T1+
หุ้นกู้มีการค้ำประกันในวงเงินไม่เกิน 5,000 ล้านบาทอายุไม่เกิน 5 ปี ภายใต้ Digital Infrastructure Project (DIF):
หุ้นกู้ระยะยาวมีการค้ำประกัน AAA
หุ้นกู้ระยะสั้นมีการค้ำประกัน T1+
แนวโน้มอันดับเครดิต: Stable