บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จัดอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ "A" พร้อมแนวโน้ม "Stable" หรือ "คงที่" โดยอันดับเครดิตดังกล่าวสะท้อนถึงความสม่ำเสมอของรายได้ค่าเช่าโรงงานสำเร็จรูป การเป็นผู้นำตลาด ประวัติความสำเร็จในธุรกิจโรงงานสำเร็จรูปให้เช่าตลอดจนผลการดำเนินงานที่ดี อย่างไรก็ตาม จุดเด่นดังกล่าวถูกจำกัดบางส่วนจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ การเข้าสู่ตลาดของคู่แข่งโดยเฉพาะผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนความเสี่ยงจากโครงการลงทุนในโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งและคลังสินค้า
แนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" ตั้งอยู่บนการคาดการณ์ว่าบริษัทจะสามารถรักษาความเป็นผู้นำในตลาดเฉพาะของโรงงานสำเร็จรูปให้เช่าซึ่งมีความแน่นอนของรายได้จากผู้เช่าในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ดี ในขณะที่แนวโน้มที่จะมีผู้เช่าในอนาคตยังคงสดใส การขยายตัวสู่ธุรกิจพัฒนาศูนย์การขนส่งและคลังสินค้าทำให้มีความต้องการเงินลงทุนที่สูงกว่าธุรกิจโรงงานให้เช่า อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจะเพิ่มสู่จุดสูงสุดที่ประมาณ 60%-65% ซึ่งเป็นระดับที่ยอมรับได้เนื่องจากในช่วงดังกล่าวบริษัทจะมีการลงทุนสูงสุด โดยในระยะปานกลาง ผู้บริหารมีนโยบายที่จะรักษาอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนให้อยู่ในระดับ 40%-60%
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น เป็นผู้นำในธุรกิจโรงงานสำเร็จรูปให้เช่าในประเทศไทย โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2548 บริษัทมีโรงงานให้เช่า 126 แห่งกระจายอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม 11 แห่ง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2548 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทประกอบด้วย กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ (20%) นายไว เชง ควน ซึ่งเป็นกรรมการผู้อำนวยการของบริษัท (14%) กองทุนเพื่อการร่วมลงทุน (9%) และกลุ่มซิตี้เรียลตี้ (7%) บริษัทมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันจากการมีประสบการณ์ 15 ปีในธุรกิจโรงงานสำเร็จรูปให้เช่า รวมทั้งการมีความสามารถในการสร้างโรงงานสำเร็จรูปในราคาที่สามารถแข่งขันได้ ความได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนจากการประหยัดจากขนาด และกลยุทธ์ในการบริหารจัดการการก่อสร้างโรงงานด้วยตนเอง
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า จากการศึกษาของ CB Richard Ellis (CBRE) เมื่อประเมินจากจำนวนโรงงานที่ปล่อยเช่า บริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุด (46%) ของตลาดโรงงานสำเร็จรูปให้เช่า ซึ่งสูงกว่าผู้ประกอบการรายอื่นมาก นอกจากนั้น บริษัทยังได้บริหารกองทุนอสังหาริมทรัพย์ไทคอน (TFUND) ซึ่งบริษัทถือหุ้นอยู่ 33.3% โดย TFUND มีส่วนแบ่งทางการตลาด 14% ดังนั้น เมื่อรวมกับ TFUND บริษัทก็จะมีส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณ 60% ผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมรายสำคัญ เช่น บริษัทเหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) (เหมราช) และ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (อมตะ) ได้เข้ามาทำธุรกิจโรงงานสำเร็จรูปให้เช่าเพื่อที่จะสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม รายได้จากธุรกิจโรงงานสำเร็จรูปให้เช่ายังเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับรายได้ที่ผู้ประกอบการเหล่านี้ได้รับจากการขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมของตน
ลูกค้าสำคัญของบริษัทส่วนใหญ่เป็นบริษัทญี่ปุ่นซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 49% ของลูกค้าทั้งหมด รองลงมาเป็นบริษัทจากยุโรปและสิงคโปร์ ซึ่งแต่ละกลุ่มคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 13% ลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทเป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่ผลิตชิ้นส่วนส่งให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ อัตราการปล่อยเช่าของบริษัทมีค่าเฉลี่ยมากกว่า 90% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยปกติสัญญาเช่ามีอายุ 3 ปี และบริษัทยังมีอัตราการต่อสัญญาเช่าเฉลี่ย 89% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้ขยายสู่ธุรกิจให้บริการสถานที่เช่าสำหรับการขนส่งและคลังสินค้า โดยโครงการดังกล่าวรวมไปถึงการก่อสร้างศูนย์โลจิสติกขนาดใหญ่เพื่อรองรับการเปิดตัวของสนามบินสุวรรณภูมิ
บริษัทมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง รายได้ค่าเช่าเติบโตอย่างต่อเนื่องจาก 226 ล้านบาทในปี 2543 เป็น 522 ล้านบาทในปี 2547 และ 445 ล้านบาทในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 บริษัทมีรายได้ 1,730 ล้านบาทจากการขายโรงงานให้กองทุนอสังหาริมทรัพย์ไทคอน รายได้จากการดำเนินงานเพิ่มจาก 85 ล้านบาทในปี 2543 เป็น 893 ล้านบาทในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 ในขณะที่อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนค่อนข้างสม่ำเสมอในระดับ 45%-55% ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในช่วงการก่อสร้างโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งและคลังสินค้า ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ
แนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" ตั้งอยู่บนการคาดการณ์ว่าบริษัทจะสามารถรักษาความเป็นผู้นำในตลาดเฉพาะของโรงงานสำเร็จรูปให้เช่าซึ่งมีความแน่นอนของรายได้จากผู้เช่าในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ดี ในขณะที่แนวโน้มที่จะมีผู้เช่าในอนาคตยังคงสดใส การขยายตัวสู่ธุรกิจพัฒนาศูนย์การขนส่งและคลังสินค้าทำให้มีความต้องการเงินลงทุนที่สูงกว่าธุรกิจโรงงานให้เช่า อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจะเพิ่มสู่จุดสูงสุดที่ประมาณ 60%-65% ซึ่งเป็นระดับที่ยอมรับได้เนื่องจากในช่วงดังกล่าวบริษัทจะมีการลงทุนสูงสุด โดยในระยะปานกลาง ผู้บริหารมีนโยบายที่จะรักษาอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนให้อยู่ในระดับ 40%-60%
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น เป็นผู้นำในธุรกิจโรงงานสำเร็จรูปให้เช่าในประเทศไทย โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2548 บริษัทมีโรงงานให้เช่า 126 แห่งกระจายอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม 11 แห่ง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2548 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทประกอบด้วย กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ (20%) นายไว เชง ควน ซึ่งเป็นกรรมการผู้อำนวยการของบริษัท (14%) กองทุนเพื่อการร่วมลงทุน (9%) และกลุ่มซิตี้เรียลตี้ (7%) บริษัทมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันจากการมีประสบการณ์ 15 ปีในธุรกิจโรงงานสำเร็จรูปให้เช่า รวมทั้งการมีความสามารถในการสร้างโรงงานสำเร็จรูปในราคาที่สามารถแข่งขันได้ ความได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนจากการประหยัดจากขนาด และกลยุทธ์ในการบริหารจัดการการก่อสร้างโรงงานด้วยตนเอง
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า จากการศึกษาของ CB Richard Ellis (CBRE) เมื่อประเมินจากจำนวนโรงงานที่ปล่อยเช่า บริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุด (46%) ของตลาดโรงงานสำเร็จรูปให้เช่า ซึ่งสูงกว่าผู้ประกอบการรายอื่นมาก นอกจากนั้น บริษัทยังได้บริหารกองทุนอสังหาริมทรัพย์ไทคอน (TFUND) ซึ่งบริษัทถือหุ้นอยู่ 33.3% โดย TFUND มีส่วนแบ่งทางการตลาด 14% ดังนั้น เมื่อรวมกับ TFUND บริษัทก็จะมีส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณ 60% ผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมรายสำคัญ เช่น บริษัทเหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) (เหมราช) และ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (อมตะ) ได้เข้ามาทำธุรกิจโรงงานสำเร็จรูปให้เช่าเพื่อที่จะสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม รายได้จากธุรกิจโรงงานสำเร็จรูปให้เช่ายังเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับรายได้ที่ผู้ประกอบการเหล่านี้ได้รับจากการขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมของตน
ลูกค้าสำคัญของบริษัทส่วนใหญ่เป็นบริษัทญี่ปุ่นซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 49% ของลูกค้าทั้งหมด รองลงมาเป็นบริษัทจากยุโรปและสิงคโปร์ ซึ่งแต่ละกลุ่มคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 13% ลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทเป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่ผลิตชิ้นส่วนส่งให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ อัตราการปล่อยเช่าของบริษัทมีค่าเฉลี่ยมากกว่า 90% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยปกติสัญญาเช่ามีอายุ 3 ปี และบริษัทยังมีอัตราการต่อสัญญาเช่าเฉลี่ย 89% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้ขยายสู่ธุรกิจให้บริการสถานที่เช่าสำหรับการขนส่งและคลังสินค้า โดยโครงการดังกล่าวรวมไปถึงการก่อสร้างศูนย์โลจิสติกขนาดใหญ่เพื่อรองรับการเปิดตัวของสนามบินสุวรรณภูมิ
บริษัทมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง รายได้ค่าเช่าเติบโตอย่างต่อเนื่องจาก 226 ล้านบาทในปี 2543 เป็น 522 ล้านบาทในปี 2547 และ 445 ล้านบาทในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 บริษัทมีรายได้ 1,730 ล้านบาทจากการขายโรงงานให้กองทุนอสังหาริมทรัพย์ไทคอน รายได้จากการดำเนินงานเพิ่มจาก 85 ล้านบาทในปี 2543 เป็น 893 ล้านบาทในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 ในขณะที่อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนค่อนข้างสม่ำเสมอในระดับ 45%-55% ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในช่วงการก่อสร้างโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งและคลังสินค้า ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ