บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด คงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ของ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ "BBB" ด้วยแนวโน้ม "Stable" หรือ "คงที่" โดยสะท้อนสถานภาพทางการตลาดที่แข็งแกร่งของหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวัน "กรุงเทพธุรกิจ" และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ "The Nation" ตลอดจนรายได้ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องของหนังสือพิมพ์รายวัน "คม ชัด ลึก" รวมทั้งความสามารถของคณะผู้บริหาร และแนวโน้มของธุรกิจโฆษณาที่ขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม จุดเด่นดังกล่าวถูกลดทอนด้วยความผันผวนของราคากระดาษหนังสือพิมพ์และอัตราการก่อหนี้ของบริษัทที่ยังสูงอยู่ ทั้งนี้ แนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" สะท้อนถึงของผลประกอบการที่น่าจะเป็นไปตามการคาดการณ์ ความมีชื่อเสียงและการเป็นเจ้าของสื่อหลากหลายประเภททำให้บริษัทยังคงรักษาสถานภาพทางการตลาดที่แข็งแกร่งเอาไว้ได้ท่ามกลางภาวะการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ แนวโน้มอันดับเครดิตยังอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่าภาระหนี้ที่สูงของบริษัทจะลดลงโดยลำดับเนื่องจากบริษัทได้มีการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตไปแล้ว
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านสื่อหลากหลายประเภท อาทิ สิ่งพิมพ์ โทรทัศน์และวิทยุ รวมทั้งอินเทอร์เน็ต โดยสื่อสิ่งพิมพ์ยังคงเป็นธุรกิจหลักที่สร้างรายได้มากกว่า 90% และสร้างกำไรจากการดำเนินงานเกือบ 100% หนังสือพิมพ์ "กรุงเทพธุรกิจ" ของบริษัทจัดเป็นผู้นำที่โดดเด่นในกลุ่มหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวัน โดยสามารถรักษาฐานผู้อ่านไว้ได้หลังจากการเปิดตัวของหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวัน "โพสต์ ทูเดย์" ในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ในขณะที่หนังสือพิมพ์ "The Nation" ของบริษัทก็สามารถรักษาฐานผู้อ่านให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับผู้นำตลาดคือหนังสือพิมพ์ "Bangkok Post" ส่วนหนังสือพิมพ์ "คม ชัด ลึก" ซึ่งเปิดตัวในเดือนตุลาคม 2544 ก็ถือเป็นแหล่งรายได้หลักของบริษัทในช่วงปี 2545-2547 โดยหลังจากการรณรงค์ด้านการตลาดอย่างหนักผ่านช่องทางจำหน่ายมากมายทำให้เป็นที่รู้จักและได้รับการตอบรับจากผู้อ่านเป็นอย่างดีจนติดอันดับ 1 ใน 3 ของหนังสือพิมพ์ที่มียอดจำหน่ายสูงสุด ต่อมายอดจำหน่ายของหนังสือพิมพ์ "คม ชัด ลึก" เริ่มคงที่ในปี 2546 หลังจากบริษัทได้ชะลอการทำการตลาดลง แต่คาดว่าบริษัทจะยังคงรักษาอัตราการเติบโตของรายได้โฆษณาได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้บริษัทประสบความสำเร็จคือคณะผู้บริหารที่มีความสามารถและประสบการณ์ที่ยาวนาน อีกทั้งยังได้รับการยอมรับในความเป็นมืออาชีพในธุรกิจ โดยมีกลยุทธ์ในการเป็นผู้ผลิตข่าวสารและเนื้อหาสู่สื่อหลากหลายประเภท
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า แหล่งรายได้ที่สำคัญของบริษัทสำหรับธุรกิจหนังสือพิมพ์มาจากการโฆษณาซึ่งจะเคลื่อนไหวตามภาวะเศรษฐกิจ โดยที่ปริมาณการโฆษณาในหนังสือพิมพ์มีความผันผวนมากกว่าการโฆษณาในสื่ออื่นๆ การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2546 มีผลทำให้บริษัทมีรายได้โฆษณาเติบโตขึ้น 11% โดยในปี 2546 ปริมาณการโฆษณาในสื่อทั้งหมดเติบโตขึ้น 16.8% ในขณะที่การโฆษณาในสื่อหนังสือพิมพ์เติบโต 20.0% อย่างไรก็ตาม แม้บริษัทจะมีอัตราการเติบโตจากรายได้โฆษณา 16% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 แต่เมื่อเทียบสัดส่วนรายได้โฆษณาของบริษัทกับทั้งอุตสาหกรรมแล้วปรากฏว่าลดลงจาก 13% ในปี 2546 เป็น 10.6% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ในขณะที่อัตราการก่อหนี้ของบริษัทยังคงสูงอยู่โดยมีอัตราส่วนของเงินกู้รวมต่อแหล่งเงินทุนที่ 66.9% ณ เดือนธันวาคม 2546 และ 66.8% ณ เดือนกันยายน 2547 เทียบกับ 70.2% ณ เดือนธันวาคม 2545 โดยภาระเงินกู้ในปี 2546 ส่วนใหญ่มาจากสินค้าคงคลัง โดยเฉพาะกระดาษหนังสือพิมพ์ที่เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากราคากระดาษที่สูงขึ้นในปี 2547 อย่างไรก็ตาม ปริมาณดังกล่าวได้เริ่มลดลงในปี 2547 เป็นต้นมา
กระดาษหนังสือพิมพ์ถือเป็นต้นทุนหลักของธุรกิจหนังสือพิมพ์ของบริษัทซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 50% ของต้นทุนของบริษัทในระหว่างปี 2543-2546 และลดลงเป็น 44% สำหรับ 9 เดือนแรกของปี 2547 โดยราคากระดาษโลกมีผลต่อกำไรขั้นต้นของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ นับตั้งแต่วิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2540 บริษัทมีต้นทุนกระดาษโดยเฉลี่ยสูงที่สุดที่ 600 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในปี 2543 ซึ่งสูงกว่าราคากระดาษโลกโดยเฉลี่ยที่ 596 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันอยู่เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ต้นทุนกระดาษโดยเฉลี่ยของบริษัทลดลงหลังจากปี 2543 ตามราคากระดาษโลก โดยบริษัทมีต้นทุนกระดาษหนังสือพิมพ์ในปี 2547 ที่ 440 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และที่ 400 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในปี 2546 โดยเทียบกับราคากระดาษโลกในช่วงต้นปี 2547 ที่ 480 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 550 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2547 ซึ่งราคากระดาษโลกได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากปี 2546 ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านสื่อหลากหลายประเภท อาทิ สิ่งพิมพ์ โทรทัศน์และวิทยุ รวมทั้งอินเทอร์เน็ต โดยสื่อสิ่งพิมพ์ยังคงเป็นธุรกิจหลักที่สร้างรายได้มากกว่า 90% และสร้างกำไรจากการดำเนินงานเกือบ 100% หนังสือพิมพ์ "กรุงเทพธุรกิจ" ของบริษัทจัดเป็นผู้นำที่โดดเด่นในกลุ่มหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวัน โดยสามารถรักษาฐานผู้อ่านไว้ได้หลังจากการเปิดตัวของหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวัน "โพสต์ ทูเดย์" ในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ในขณะที่หนังสือพิมพ์ "The Nation" ของบริษัทก็สามารถรักษาฐานผู้อ่านให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับผู้นำตลาดคือหนังสือพิมพ์ "Bangkok Post" ส่วนหนังสือพิมพ์ "คม ชัด ลึก" ซึ่งเปิดตัวในเดือนตุลาคม 2544 ก็ถือเป็นแหล่งรายได้หลักของบริษัทในช่วงปี 2545-2547 โดยหลังจากการรณรงค์ด้านการตลาดอย่างหนักผ่านช่องทางจำหน่ายมากมายทำให้เป็นที่รู้จักและได้รับการตอบรับจากผู้อ่านเป็นอย่างดีจนติดอันดับ 1 ใน 3 ของหนังสือพิมพ์ที่มียอดจำหน่ายสูงสุด ต่อมายอดจำหน่ายของหนังสือพิมพ์ "คม ชัด ลึก" เริ่มคงที่ในปี 2546 หลังจากบริษัทได้ชะลอการทำการตลาดลง แต่คาดว่าบริษัทจะยังคงรักษาอัตราการเติบโตของรายได้โฆษณาได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้บริษัทประสบความสำเร็จคือคณะผู้บริหารที่มีความสามารถและประสบการณ์ที่ยาวนาน อีกทั้งยังได้รับการยอมรับในความเป็นมืออาชีพในธุรกิจ โดยมีกลยุทธ์ในการเป็นผู้ผลิตข่าวสารและเนื้อหาสู่สื่อหลากหลายประเภท
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า แหล่งรายได้ที่สำคัญของบริษัทสำหรับธุรกิจหนังสือพิมพ์มาจากการโฆษณาซึ่งจะเคลื่อนไหวตามภาวะเศรษฐกิจ โดยที่ปริมาณการโฆษณาในหนังสือพิมพ์มีความผันผวนมากกว่าการโฆษณาในสื่ออื่นๆ การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2546 มีผลทำให้บริษัทมีรายได้โฆษณาเติบโตขึ้น 11% โดยในปี 2546 ปริมาณการโฆษณาในสื่อทั้งหมดเติบโตขึ้น 16.8% ในขณะที่การโฆษณาในสื่อหนังสือพิมพ์เติบโต 20.0% อย่างไรก็ตาม แม้บริษัทจะมีอัตราการเติบโตจากรายได้โฆษณา 16% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 แต่เมื่อเทียบสัดส่วนรายได้โฆษณาของบริษัทกับทั้งอุตสาหกรรมแล้วปรากฏว่าลดลงจาก 13% ในปี 2546 เป็น 10.6% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ในขณะที่อัตราการก่อหนี้ของบริษัทยังคงสูงอยู่โดยมีอัตราส่วนของเงินกู้รวมต่อแหล่งเงินทุนที่ 66.9% ณ เดือนธันวาคม 2546 และ 66.8% ณ เดือนกันยายน 2547 เทียบกับ 70.2% ณ เดือนธันวาคม 2545 โดยภาระเงินกู้ในปี 2546 ส่วนใหญ่มาจากสินค้าคงคลัง โดยเฉพาะกระดาษหนังสือพิมพ์ที่เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากราคากระดาษที่สูงขึ้นในปี 2547 อย่างไรก็ตาม ปริมาณดังกล่าวได้เริ่มลดลงในปี 2547 เป็นต้นมา
กระดาษหนังสือพิมพ์ถือเป็นต้นทุนหลักของธุรกิจหนังสือพิมพ์ของบริษัทซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 50% ของต้นทุนของบริษัทในระหว่างปี 2543-2546 และลดลงเป็น 44% สำหรับ 9 เดือนแรกของปี 2547 โดยราคากระดาษโลกมีผลต่อกำไรขั้นต้นของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ นับตั้งแต่วิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2540 บริษัทมีต้นทุนกระดาษโดยเฉลี่ยสูงที่สุดที่ 600 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในปี 2543 ซึ่งสูงกว่าราคากระดาษโลกโดยเฉลี่ยที่ 596 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันอยู่เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ต้นทุนกระดาษโดยเฉลี่ยของบริษัทลดลงหลังจากปี 2543 ตามราคากระดาษโลก โดยบริษัทมีต้นทุนกระดาษหนังสือพิมพ์ในปี 2547 ที่ 440 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และที่ 400 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในปี 2546 โดยเทียบกับราคากระดาษโลกในช่วงต้นปี 2547 ที่ 480 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 550 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2547 ซึ่งราคากระดาษโลกได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากปี 2546 ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ