บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ยืนยันผลการทบทวนอันดับเครดิตหุ้นกู้มีประกัน 1,000 ล้านบาท (TANI078A) ของ บริษัท ราชธานีลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ "BBB" พร้อมแนวโน้ม "Stable" หรือ "คงที่" ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถของบริษัทในการขยายสินเชื่อ ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มือสอง และสัมพันธภาพที่ยาวนานกับผู้จำหน่ายรถยนต์ อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตดังกล่าวมีข้อจำกัดจากการแข่งขันที่รุนแรงของผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อขนาดใหญ่และสถาบันการเงินที่เข้าสู่ตลาดรถยนต์มือสองมากขึ้น รวมถึงจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุน นอกจากนี้ อันดับเครดิตยังพิจารณารวมไปถึงหลักทรัพย์ค้ำประกันแก่ผู้ถือหุ้นกู้โดยใช้บัญชีลูกหนี้ของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่ค้างชำระไม่เกิน 2 เดือนเป็นหลักประกันในอัตราส่วน 135% ของมูลค่าหุ้นกู้ด้วย ทั้งนี้ หากสินเชื่อดังกล่าวมีไม่เพียงพอ บริษัทจะต้องดำรงเงินสดหรือตั๋วเงินไว้เป็นหลักประกันในอัตรา 100% ของมูลค่าหุ้นกู้ในส่วนที่มูลค่าหลักประกันคุ้มครองไม่เพียงพอ
แนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" สะท้อนถึงการคาดการณ์ของทริสเรทติ้งว่าบริษัทราชธานีลิสซิ่งน่าจะยังคงสามารถรักษาสถานะทางการตลาดเอาไว้ได้ โดยคณะผู้บริหารที่มีประสบการณ์และความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับผู้จัดจำหน่ายรถยนต์จะช่วยให้บริษัทสามารถขยายสินเชื่อใหม่ได้แม้ว่าการแข่งขันจะรุนแรง ทริสเรทติ้งยังคาดว่าบริษัทจะสามารถรักษาระดับคุณภาพสินทรัพย์ไม่ให้กระทบต่อความสามารถในการทำกำไรอย่างมีนัยสำคัญด้วย
โดยทริสเรทติ้งรายงานว่า สินเชื่อรวมของบริษัทราชธานีลิสซิ่งเพิ่มขึ้น 34.9% ในปี 2547 จาก 1,517 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2546 มาอยู่ที่ 2,047 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2547 ในขณะที่กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า จาก 33.2 ล้านบาทในปี 2546 เป็น 68.8 ล้านบาทในปี 2547 อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิของบริษัทสำหรับปี 2547 ได้รวมกำไรจำนวน 18.3 ล้านบาทจากการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดเมื่อเดือนธันวาคม 2547 เข้าไว้ด้วย ซึ่งหากไม่รวมกำไรในส่วนนี้ กำไรสุทธิของบริษัทจะเพิ่มขึ้น 52% จากปี 2546 ถึงปี 2547 สินเชื่อรวมของบริษัทในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 2,488 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 22% จากสิ้นปี 2547 ในช่วงต้นปี 2548 ความต้องการรถยนต์เชิงพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากสถานการณ์ราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลให้บริษัทมุ่งเน้นการให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เชิงพาณิชย์มากขึ้นถึง 50% ของสินเชื่อใหม่ แม้ว่าสินเชื่อสำหรับรถยนต์เชิงพาณิชย์จะให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นแก่บริษัท แต่การตัดสินใจจ่ายชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้น (ตั๋วแลกเงิน) ด้วยการใช้เงินกู้ยืมระยะกลางจากธนาคารพาณิชย์ในเดือนกันยายน 2548 ซึ่งแม้จะช่วยให้เกิดสมดุลระหว่างสินทรัพย์และหนี้สินที่ดีขึ้น แต่ก็จะกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยและความสามารถในการทำกำไรของบริษัท
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ในอดีตการแข่งขันในอุตสาหกรรมเช่าซื้อรถยนต์ใหม่มีความรุนแรงมากกว่าอุตสาหกรรมเช่าซื้อรถยนต์มือสอง อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการในปัจจุบันได้ขยายฐานสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มือสองให้มากขึ้นเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าหลังจากที่ธนาคารพาณิชย์ซึ่งมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำกว่าและมีเครือข่ายสาขาที่กว้างกว่าได้เข้าสู่อุตสาหกรรมเช่าซื้อรถยนต์ใหม่โดยการจัดตั้งบริษัทลูกของตนเอง นอกจากนี้ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นได้ทำให้ต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการสูงขึ้น แต่อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้าก็ไม่ได้ขยับตามในทันที ทั้งนี้ เพื่อที่จะรักษาสถานะทางการตลาดท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง โดยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยทั้งสำหรับสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ใหม่และรถยนต์มือสองนั้นแคบลง -- จบ
แนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" สะท้อนถึงการคาดการณ์ของทริสเรทติ้งว่าบริษัทราชธานีลิสซิ่งน่าจะยังคงสามารถรักษาสถานะทางการตลาดเอาไว้ได้ โดยคณะผู้บริหารที่มีประสบการณ์และความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับผู้จัดจำหน่ายรถยนต์จะช่วยให้บริษัทสามารถขยายสินเชื่อใหม่ได้แม้ว่าการแข่งขันจะรุนแรง ทริสเรทติ้งยังคาดว่าบริษัทจะสามารถรักษาระดับคุณภาพสินทรัพย์ไม่ให้กระทบต่อความสามารถในการทำกำไรอย่างมีนัยสำคัญด้วย
โดยทริสเรทติ้งรายงานว่า สินเชื่อรวมของบริษัทราชธานีลิสซิ่งเพิ่มขึ้น 34.9% ในปี 2547 จาก 1,517 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2546 มาอยู่ที่ 2,047 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2547 ในขณะที่กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า จาก 33.2 ล้านบาทในปี 2546 เป็น 68.8 ล้านบาทในปี 2547 อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิของบริษัทสำหรับปี 2547 ได้รวมกำไรจำนวน 18.3 ล้านบาทจากการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดเมื่อเดือนธันวาคม 2547 เข้าไว้ด้วย ซึ่งหากไม่รวมกำไรในส่วนนี้ กำไรสุทธิของบริษัทจะเพิ่มขึ้น 52% จากปี 2546 ถึงปี 2547 สินเชื่อรวมของบริษัทในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 2,488 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 22% จากสิ้นปี 2547 ในช่วงต้นปี 2548 ความต้องการรถยนต์เชิงพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากสถานการณ์ราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลให้บริษัทมุ่งเน้นการให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เชิงพาณิชย์มากขึ้นถึง 50% ของสินเชื่อใหม่ แม้ว่าสินเชื่อสำหรับรถยนต์เชิงพาณิชย์จะให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นแก่บริษัท แต่การตัดสินใจจ่ายชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้น (ตั๋วแลกเงิน) ด้วยการใช้เงินกู้ยืมระยะกลางจากธนาคารพาณิชย์ในเดือนกันยายน 2548 ซึ่งแม้จะช่วยให้เกิดสมดุลระหว่างสินทรัพย์และหนี้สินที่ดีขึ้น แต่ก็จะกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยและความสามารถในการทำกำไรของบริษัท
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ในอดีตการแข่งขันในอุตสาหกรรมเช่าซื้อรถยนต์ใหม่มีความรุนแรงมากกว่าอุตสาหกรรมเช่าซื้อรถยนต์มือสอง อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการในปัจจุบันได้ขยายฐานสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มือสองให้มากขึ้นเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าหลังจากที่ธนาคารพาณิชย์ซึ่งมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำกว่าและมีเครือข่ายสาขาที่กว้างกว่าได้เข้าสู่อุตสาหกรรมเช่าซื้อรถยนต์ใหม่โดยการจัดตั้งบริษัทลูกของตนเอง นอกจากนี้ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นได้ทำให้ต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการสูงขึ้น แต่อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้าก็ไม่ได้ขยับตามในทันที ทั้งนี้ เพื่อที่จะรักษาสถานะทางการตลาดท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง โดยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยทั้งสำหรับสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ใหม่และรถยนต์มือสองนั้นแคบลง -- จบ