บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เพิ่มอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกัน 2,500 ล้านบาท (PTEP183A) ของ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) เป็นระดับ "AAA" จากเดิมที่ระดับ "AA+" พร้อมแนวโน้ม "Stable" หรือ "คงที่" โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงฐานะทางการเงินของบริษัทที่แข็งแกร่งขึ้น รวมทั้งผลประโยชน์ที่ได้รับจากราคาปิโตรเลียมที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความสามารถในการขยายการลงทุนโดยยังคงรักษาความแข็งแกร่งทางการเงินเอาไว้ได้ อันดับเครดิตดังกล่าวยังสะท้อนถึงความเป็นผู้นำในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย ตลอดจนการมีสินทรัพย์ที่หลากหลาย และการได้รับการสนับสนุนในฐานะที่เป็นตัวแทนรัฐบาลไทยในการถือสัมปทานปิโตรเลียม
แนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" สะท้อนการคาดการณ์ว่าบริษัทจะยังคงดำรงฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งต่อไปได้แม้ว่าจะมีแผนการลงทุนค่อนข้างสูงในระหว่างปี 2549-2551 และมีภาระจ่ายชำระคืนหุ้นกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐและสกุลเยนอีกประมาณ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2549-2550 ก็ตาม ความกดดันจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมและการจัดหาปริมาณสำรองปิโตรเลียมเพิ่มเติมน่าจะลดลงจากราคาปิโตรเลียมที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ คาดว่าบริษัทจะยังคงดำเนินนโยบายทางการเงินที่ระมัดระวังเพื่อรองรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นทั้งในด้านการดำเนินงานและการเมืองจากโครงการที่บริษัทลงทุนในต่างประเทศ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ปตท.สผ. เป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมชั้นแนวหน้าในประเทศ ณ เดือนธันวาคม 2548 บริษัทมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้วสูงถึง 950 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ เมื่อพิจารณาจากกำลังการผลิตในปัจจุบันที่ระดับ 184,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวันแล้ว ปริมาณสำรองปิโตรเลียมของ ปตท.สผ. สามารถนำมาผลิตใช้ได้นานถึง 14 ปี ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของผู้ประกอบการชั้นนำที่มีอายุระหว่าง 10-15 ปี ณ สิ้นปี 2548 บริษัทมีโครงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทั้งสิ้น 29 โครงการ โดย 10 โครงการอยู่ในขั้นตอนการผลิต และที่เหลืออยู่ในขั้นตอนการสำรวจและพัฒนา
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ปตท.สผ. ก่อตั้งด้วยวัตถุประสงค์เพื่อถือสิทธิ์สัมปทานปิโตรเลียมในนามของรัฐบาลไทย โดย ณ เดือนพฤศจิกายน 2548 มีฐานะเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้น 66% โดยบริษัทน้ำมันแห่งชาติ คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ทั้ง ปตท. และ ปตท.สผ. ยังคงมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้พระราชบัญญัติงบประมาณของไทย ในฐานะรัฐวิสาหกิจตัวแทนของรัฐที่ทำหน้าที่สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ปตท.สผ. จึงมักได้รับประโยชน์ในการเข้าร่วมโครงการสัมปทานปิโตรเลียมที่สำคัญๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการรายอื่น ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ ปตท.สผ. จัดว่าอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ ณ สิ้นปี 2548 บริษัทมีต้นทุนเฉลี่ยในการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา 4.76 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ประกอบการชั้นนำทั่วโลก แม้ว่าค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการผลิตของบริษัทจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 1.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบในปี 2547 เป็น 1.82 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบในปี 2548 แต่ก็ยังถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ประกอบการชั้นนำดังกล่าว
ฐานะทางการเงินของ ปตท.สผ. ยังคงมีความแข็งแกร่งเป็นอย่างมาก ผลการดำเนินงานในปี 2548 ของบริษัทดีเกินคาด โดยยอด
ขายเพิ่มขึ้น 43.6% เป็น 66,358 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 49.6% เป็น 23,735 ล้านบาท อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนลดลงจาก 23.9% ในปี 2547 เหลือ 20.7% ในปี 2548 อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมอยู่ที่ระดับ 180.3% ในปี 2548 ในขณะที่บริษัทยังคงมีอัตรากำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายในระดับค่อนข้างสูงที่ 70%-75% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แผนการลงทุนของบริษัทในช่วงปี 2549-2553 ซึ่งจะใช้เงินลงทุนประมาณ 153,500 ล้านบาทนั้นสูงกว่าตัวเลขเดิมที่คาดการณ์ไว้ โดยที่ประมาณ 35%-40% ของเงินลงทุนจะใช้ในโครงการบงกชและโครงการอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากราคาปิโตรเลียมที่คาดว่าจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง และกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัทที่ตั้งไว้ที่ประมาณ 35,000-40,000 ล้านบาทต่อปี จึงคาดว่าบริษัทน่าจะมีความสามารถในการจัดสรรงบประมาณจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานได้อย่างเพียงพอสำหรับแผนการลงทุน นอกจากนี้ บริษัทยังมีสภาพคล่องที่สูงจากการมีเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นรวมทั้งสิ้นอีก 30,507 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2548 ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ
แนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" สะท้อนการคาดการณ์ว่าบริษัทจะยังคงดำรงฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งต่อไปได้แม้ว่าจะมีแผนการลงทุนค่อนข้างสูงในระหว่างปี 2549-2551 และมีภาระจ่ายชำระคืนหุ้นกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐและสกุลเยนอีกประมาณ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2549-2550 ก็ตาม ความกดดันจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมและการจัดหาปริมาณสำรองปิโตรเลียมเพิ่มเติมน่าจะลดลงจากราคาปิโตรเลียมที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ คาดว่าบริษัทจะยังคงดำเนินนโยบายทางการเงินที่ระมัดระวังเพื่อรองรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นทั้งในด้านการดำเนินงานและการเมืองจากโครงการที่บริษัทลงทุนในต่างประเทศ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ปตท.สผ. เป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมชั้นแนวหน้าในประเทศ ณ เดือนธันวาคม 2548 บริษัทมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้วสูงถึง 950 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ เมื่อพิจารณาจากกำลังการผลิตในปัจจุบันที่ระดับ 184,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวันแล้ว ปริมาณสำรองปิโตรเลียมของ ปตท.สผ. สามารถนำมาผลิตใช้ได้นานถึง 14 ปี ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของผู้ประกอบการชั้นนำที่มีอายุระหว่าง 10-15 ปี ณ สิ้นปี 2548 บริษัทมีโครงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทั้งสิ้น 29 โครงการ โดย 10 โครงการอยู่ในขั้นตอนการผลิต และที่เหลืออยู่ในขั้นตอนการสำรวจและพัฒนา
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ปตท.สผ. ก่อตั้งด้วยวัตถุประสงค์เพื่อถือสิทธิ์สัมปทานปิโตรเลียมในนามของรัฐบาลไทย โดย ณ เดือนพฤศจิกายน 2548 มีฐานะเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้น 66% โดยบริษัทน้ำมันแห่งชาติ คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ทั้ง ปตท. และ ปตท.สผ. ยังคงมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้พระราชบัญญัติงบประมาณของไทย ในฐานะรัฐวิสาหกิจตัวแทนของรัฐที่ทำหน้าที่สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ปตท.สผ. จึงมักได้รับประโยชน์ในการเข้าร่วมโครงการสัมปทานปิโตรเลียมที่สำคัญๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการรายอื่น ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ ปตท.สผ. จัดว่าอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ ณ สิ้นปี 2548 บริษัทมีต้นทุนเฉลี่ยในการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา 4.76 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ประกอบการชั้นนำทั่วโลก แม้ว่าค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการผลิตของบริษัทจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 1.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบในปี 2547 เป็น 1.82 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบในปี 2548 แต่ก็ยังถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ประกอบการชั้นนำดังกล่าว
ฐานะทางการเงินของ ปตท.สผ. ยังคงมีความแข็งแกร่งเป็นอย่างมาก ผลการดำเนินงานในปี 2548 ของบริษัทดีเกินคาด โดยยอด
ขายเพิ่มขึ้น 43.6% เป็น 66,358 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 49.6% เป็น 23,735 ล้านบาท อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนลดลงจาก 23.9% ในปี 2547 เหลือ 20.7% ในปี 2548 อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมอยู่ที่ระดับ 180.3% ในปี 2548 ในขณะที่บริษัทยังคงมีอัตรากำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายในระดับค่อนข้างสูงที่ 70%-75% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แผนการลงทุนของบริษัทในช่วงปี 2549-2553 ซึ่งจะใช้เงินลงทุนประมาณ 153,500 ล้านบาทนั้นสูงกว่าตัวเลขเดิมที่คาดการณ์ไว้ โดยที่ประมาณ 35%-40% ของเงินลงทุนจะใช้ในโครงการบงกชและโครงการอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากราคาปิโตรเลียมที่คาดว่าจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง และกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัทที่ตั้งไว้ที่ประมาณ 35,000-40,000 ล้านบาทต่อปี จึงคาดว่าบริษัทน่าจะมีความสามารถในการจัดสรรงบประมาณจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานได้อย่างเพียงพอสำหรับแผนการลงทุน นอกจากนี้ บริษัทยังมีสภาพคล่องที่สูงจากการมีเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นรวมทั้งสิ้นอีก 30,507 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2548 ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ