บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศยืนยันอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (RATCH) ที่ระดับ “AA-” พร้อมแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” ในขณะเดียวกันยังยืนยันอันดับเครดิตบริษัทลูกของ RATCH คือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (RATCHGEN) และหุ้นกู้มีประกัน (RG086A, RG106A) ที่ระดับ “AA” พร้อมแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่”
โดยอันดับเครดิต “AA-” ของ RATCH สะท้อนถึงรายได้ที่สม่ำเสมอในรูปของเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทลูกคือ RATCHGEN รวมถึง
การมีโรงไฟฟ้าที่มีคุณภาพ และนโยบายการลงทุนที่มีความระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม จุดแข็งดังกล่าวถูกลดทอนลงบางส่วนจากการที่เจ้าหนี้ของ RATCH มีสิทธิในการรับชำระหนี้และเรียกร้องสิทธิในสินทรัพย์ของ RATCHGEN ด้อยกว่าเจ้าหนี้ของ RATCHGEN เอง รวมทั้งความไม่แน่นอนของการแปรรูปกิจการไฟฟ้าในอนาคต ส่วนแนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงความคาดหวังว่า RATCH จะได้รับเงิน
ปันผลที่แน่นอนจาก RATCHGEN และโรงไฟฟ้าอื่นๆ นอกจากนี้ ยังคาดว่าบริษัทจะพิจารณาตัดสินใจลงทุนในอนาคตอย่างรอบคอบและระมัดระวัง
ในขณะที่อันดับเครดิต “AA” ของ RATCHGEN และหุ้นกู้มีประกันสะท้อนถึงกระแสเงินสดที่แน่นอนจากโรงไฟฟ้าราชบุรีซึ่งมีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนประสบการณ์ที่ยาวนานในภาคพลังงานของบุคลากร และผลงานในการบริหารโรงไฟฟ้าที่ได้รับการยอมรับ ในขณะเดียวกัน อันดับเครดิตยังสะท้อนถึงความเสี่ยงในการดำเนินงานโรงไฟฟ้าและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายการแปรรูปกิจการไฟฟ้าด้วย โดยที่แนวโน้ม“Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนความคาดหวังของทริสเรทติ้งว่า RATCHGEN จะยังคงได้รับกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอจากรายได้ค่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าราชบุรี นอกจากนี้ ยังคาดว่าโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะยังคงดำรงความสามารถในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสัญญาซื้อขายไฟฟ้าต่อไป
ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งรายงานว่า RATCH ก่อตั้งในปี 2543 เพื่อซื้อโรงไฟฟ้าราชบุรีจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ณ เดือนมีนาคม 2549 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ RATCH ประกอบด้วย กฟผ. (45%) และ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) (14.99%) ปัจจุบันธุรกิจผลิตไฟฟ้าของบริษัทประกอบด้วยโรงไฟฟ้าจำนวน 4 โรงซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 4,499 เมกะวัตต์ ด้วยมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 20,574 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2549 บริษัทได้รับเงินปันผลสำหรับปี 2548 จำนวน 6,046 ล้านบาทจากธุรกิจโรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่ง คือ RATCHGEN และ บริษัท ไตร เอนเนอจี้ จำกัด (TECO) โดย RATCHGEN ยังคงเป็นการลงทุนที่สำคัญที่สุดของบริษัทในสัดส่วน 81% ของกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมของบริษัท และสร้างรายได้จากเงินปันผลให้แก่บริษัทถึง 92% บริษัทมีนโยบายด้านการลงทุนที่ระมัดระวัง โดยการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าทั้งหมดล้วนมีสัญญาขายไฟฟ้า (PPA) ระยะยาวกับ กฟผ. ทั้งสิ้น บริษัทได้เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าร่วมประมูลโครงการโรงไฟฟ้าเอกชน (IPP) แห่งใหม่เร็วๆ นี้แม้ว่าเกณฑ์ในการประมูลและข้อจำกัดต่างๆ จะยังไม่ชัดเจนก็ตาม
ในส่วนของ RATCHGEN นั้น ทริสเรทติ้งกล่าวว่าเป็นบริษัทลูกที่ถือหุ้นทั้งหมดโดย RATCH โดย RATCHGEN เป็นบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 3,645 เมกะวัตต์ หรือเท่ากับ 14% ของกำลังการผลิตติดตั้งรวมของประเทศ ปัจจุบันบริษัทมีสัญญาขายไฟฟ้า (PPA) ระยะเวลา 25 ปีกับ กฟผ. และมีสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติ (GSA) ระยะเวลา 25 ปีกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) RATCHGEN มีผลประกอบการในปี 2548 ในระดับที่น่าพอใจถึงแม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ในเดือนตุลาคม 2548 โดยบริษัทสามารถดำรงค่าความพร้อมจ่ายเฉลี่ยของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนให้อยู่ที่ระดับ 86.1% และดำรงค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมให้อยู่ที่ระดับ 90.5% รายได้จากการขายไฟฟ้าของบริษัทเพิ่มขึ้น 10.9% จาก 39,714 ล้านบาทในปี 2547 เป็น 44,035 ล้านบาทในปี 2548 และมีอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ซึ่งไม่รวมบัญชีเงินสำรองเพื่อการชำระหนี้แต่หักส่วนเปลี่ยนแปลงสุทธิของเงินทุนหมุนเวียนอยู่ที่ระดับ 2.2 เท่า ณ สิ้นปี 2548
สำหรับกรณีเพลิงไหม้ในเดือนตุลาคม 2548 นั้น ทริสเรทติ้งกล่าวว่าเพลิงเกิดขึ้นที่บริเวณเครื่องดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (FGD) ของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนเครื่องที่ 1 ของ RATCHGEN ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผลประกอบการโรงไฟฟ้าน้อยมากเนื่องจากเหตุเกิดในขณะที่โรงไฟฟ้าอยู่ระหว่างการหยุดเดินเครื่องจักรเพื่อการซ่อมบำรุง ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ถูกเพลิงไหม้ประมาณ 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐจะได้รับการจ่ายชดเชยโดยประกันภัยตลอดระยะเวลาการซ่อมแซมนาน 18 เดือนซึ่งจะแล้วเสร็จประมาณเดือนกรกฎาคม 2550 ส่วนรายได้ต่างๆ ที่สูญเสียไปเนื่องจาก FGD เสียหายจะได้รับการจ่ายชดเชยโดยประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก -- จบ
--------------------------------------------------------------------------------------------
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549 ห้ามมิให้บุคคลใดใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยมิได้รับอนุญาต การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำแถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอแนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะอื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควรประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิตนี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้ ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงมิได้รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้น ผลที่ได้รับ หรือการกระทำใดๆ โดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว
โดยอันดับเครดิต “AA-” ของ RATCH สะท้อนถึงรายได้ที่สม่ำเสมอในรูปของเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทลูกคือ RATCHGEN รวมถึง
การมีโรงไฟฟ้าที่มีคุณภาพ และนโยบายการลงทุนที่มีความระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม จุดแข็งดังกล่าวถูกลดทอนลงบางส่วนจากการที่เจ้าหนี้ของ RATCH มีสิทธิในการรับชำระหนี้และเรียกร้องสิทธิในสินทรัพย์ของ RATCHGEN ด้อยกว่าเจ้าหนี้ของ RATCHGEN เอง รวมทั้งความไม่แน่นอนของการแปรรูปกิจการไฟฟ้าในอนาคต ส่วนแนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงความคาดหวังว่า RATCH จะได้รับเงิน
ปันผลที่แน่นอนจาก RATCHGEN และโรงไฟฟ้าอื่นๆ นอกจากนี้ ยังคาดว่าบริษัทจะพิจารณาตัดสินใจลงทุนในอนาคตอย่างรอบคอบและระมัดระวัง
ในขณะที่อันดับเครดิต “AA” ของ RATCHGEN และหุ้นกู้มีประกันสะท้อนถึงกระแสเงินสดที่แน่นอนจากโรงไฟฟ้าราชบุรีซึ่งมีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนประสบการณ์ที่ยาวนานในภาคพลังงานของบุคลากร และผลงานในการบริหารโรงไฟฟ้าที่ได้รับการยอมรับ ในขณะเดียวกัน อันดับเครดิตยังสะท้อนถึงความเสี่ยงในการดำเนินงานโรงไฟฟ้าและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายการแปรรูปกิจการไฟฟ้าด้วย โดยที่แนวโน้ม“Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนความคาดหวังของทริสเรทติ้งว่า RATCHGEN จะยังคงได้รับกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอจากรายได้ค่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าราชบุรี นอกจากนี้ ยังคาดว่าโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะยังคงดำรงความสามารถในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสัญญาซื้อขายไฟฟ้าต่อไป
ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งรายงานว่า RATCH ก่อตั้งในปี 2543 เพื่อซื้อโรงไฟฟ้าราชบุรีจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ณ เดือนมีนาคม 2549 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ RATCH ประกอบด้วย กฟผ. (45%) และ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) (14.99%) ปัจจุบันธุรกิจผลิตไฟฟ้าของบริษัทประกอบด้วยโรงไฟฟ้าจำนวน 4 โรงซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 4,499 เมกะวัตต์ ด้วยมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 20,574 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2549 บริษัทได้รับเงินปันผลสำหรับปี 2548 จำนวน 6,046 ล้านบาทจากธุรกิจโรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่ง คือ RATCHGEN และ บริษัท ไตร เอนเนอจี้ จำกัด (TECO) โดย RATCHGEN ยังคงเป็นการลงทุนที่สำคัญที่สุดของบริษัทในสัดส่วน 81% ของกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมของบริษัท และสร้างรายได้จากเงินปันผลให้แก่บริษัทถึง 92% บริษัทมีนโยบายด้านการลงทุนที่ระมัดระวัง โดยการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าทั้งหมดล้วนมีสัญญาขายไฟฟ้า (PPA) ระยะยาวกับ กฟผ. ทั้งสิ้น บริษัทได้เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าร่วมประมูลโครงการโรงไฟฟ้าเอกชน (IPP) แห่งใหม่เร็วๆ นี้แม้ว่าเกณฑ์ในการประมูลและข้อจำกัดต่างๆ จะยังไม่ชัดเจนก็ตาม
ในส่วนของ RATCHGEN นั้น ทริสเรทติ้งกล่าวว่าเป็นบริษัทลูกที่ถือหุ้นทั้งหมดโดย RATCH โดย RATCHGEN เป็นบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 3,645 เมกะวัตต์ หรือเท่ากับ 14% ของกำลังการผลิตติดตั้งรวมของประเทศ ปัจจุบันบริษัทมีสัญญาขายไฟฟ้า (PPA) ระยะเวลา 25 ปีกับ กฟผ. และมีสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติ (GSA) ระยะเวลา 25 ปีกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) RATCHGEN มีผลประกอบการในปี 2548 ในระดับที่น่าพอใจถึงแม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ในเดือนตุลาคม 2548 โดยบริษัทสามารถดำรงค่าความพร้อมจ่ายเฉลี่ยของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนให้อยู่ที่ระดับ 86.1% และดำรงค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมให้อยู่ที่ระดับ 90.5% รายได้จากการขายไฟฟ้าของบริษัทเพิ่มขึ้น 10.9% จาก 39,714 ล้านบาทในปี 2547 เป็น 44,035 ล้านบาทในปี 2548 และมีอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ซึ่งไม่รวมบัญชีเงินสำรองเพื่อการชำระหนี้แต่หักส่วนเปลี่ยนแปลงสุทธิของเงินทุนหมุนเวียนอยู่ที่ระดับ 2.2 เท่า ณ สิ้นปี 2548
สำหรับกรณีเพลิงไหม้ในเดือนตุลาคม 2548 นั้น ทริสเรทติ้งกล่าวว่าเพลิงเกิดขึ้นที่บริเวณเครื่องดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (FGD) ของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนเครื่องที่ 1 ของ RATCHGEN ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผลประกอบการโรงไฟฟ้าน้อยมากเนื่องจากเหตุเกิดในขณะที่โรงไฟฟ้าอยู่ระหว่างการหยุดเดินเครื่องจักรเพื่อการซ่อมบำรุง ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ถูกเพลิงไหม้ประมาณ 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐจะได้รับการจ่ายชดเชยโดยประกันภัยตลอดระยะเวลาการซ่อมแซมนาน 18 เดือนซึ่งจะแล้วเสร็จประมาณเดือนกรกฎาคม 2550 ส่วนรายได้ต่างๆ ที่สูญเสียไปเนื่องจาก FGD เสียหายจะได้รับการจ่ายชดเชยโดยประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก -- จบ
--------------------------------------------------------------------------------------------
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549 ห้ามมิให้บุคคลใดใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยมิได้รับอนุญาต การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำแถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอแนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะอื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควรประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิตนี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้ ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงมิได้รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้น ผลที่ได้รับ หรือการกระทำใดๆ โดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว