แท็ก
ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม
สภาธุรกิจตลาดทุนไทย
เอบิโก้ โฮลดิ้งส์
โรงแรมคอนราด
ทริสเรทติ้ง
อีริคสัน
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศยืนยันอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกันชุดเดิมของ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) ที่ระดับ “AAA” ในขณะเดียวกันยังจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่มีประกันชุดใหม่ในวงเงินไม่เกิน 12,000 ล้านบาทของบริษัทที่ระดับ “AAA” พร้อมแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” โดยอันดับเครดิตสะท้อนสถานะความเป็นผู้นำในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย ความเข้มแข็งของปริมาณสำรองปิโตรเลียม และการสนับสนุนจากรัฐในฐานะที่เป็นตัวแทนรัฐบาลไทยในการถือสัมปทานปิโตรเลียม อันดับเครดิตดังกล่าวยังสะท้อนถึงกระแสเงินสดจากการดำเนินงานในระดับสูง และฐานะทางการเงินของบริษัทที่แข็งแกร่งแม้ว่าบริษัทจะมีรายจ่ายการลงทุนที่ค่อนข้างมากในช่วงปี 2550-2552
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนการคาดการณ์ว่าบริษัทจะยังคงดำรงฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งต่อไปได้แม้ว่าจะมีแผนการลงทุนในระดับสูงในระหว่างปี 2550-2552 ความกดดันจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมและการจัดหาปริมาณสำรองปิโตรเลียมเพิ่มเติมน่าจะได้รับการชดเชยได้บางส่วนจากราคาปิโตรเลียมที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ คาดว่าบริษัทจะยังคงดำเนินนโยบายทางการเงินที่ระมัดระวังเพื่อรองรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นทั้งในด้านการดำเนินงานและด้านการเมืองจากโครงการที่บริษัทลงทุนในต่างประเทศ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ปตท.สผ. เป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมระดับแนวหน้าของประเทศ บริษัทมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้ว ณ เดือนธันวาคม 2549 สูงถึง 923 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ เมื่อพิจารณาจากประมาณการการผลิตที่ระดับ 188,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวันแล้ว ปริมาณสำรองปิโตรเลียมของ ปตท.สผ. น่าจะสามารถนำมาผลิตใช้ได้นานถึง 14 ปี โดยที่ผู้ประกอบการระดับโลกมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 10-15 ปี ณ สิ้นปี 2549 บริษัทมีโครงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรวมทั้งสิ้น 34 โครงการ โดย 11 โครงการอยู่ในขั้นตอนการผลิต และที่เหลืออยู่ในขั้นตอนการสำรวจและพัฒนา
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ปตท.สผ. ก่อตั้งด้วยวัตถุประสงค์เพื่อถือสิทธิ์สัมปทานปิโตรเลียมในนามของรัฐบาลไทย โดย ณ เดือนมีนาคม 2550 มีฐานะเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้น 66.5% โดยบริษัทน้ำมันแห่งชาติ คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ทั้ง ปตท. และ ปตท.สผ. ยังคงมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้พระราชบัญญัติงบประมาณของไทย ในฐานะรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐที่ทำหน้าที่สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ปตท.สผ. จึงมักได้รับประโยชน์ในการเข้าร่วมโครงการสัมปทานปิโตรเลียมที่สำคัญๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการรายอื่นแล้ว ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ ปตท.สผ. จัดว่าอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ บริษัทมีต้นทุนเฉลี่ยในการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในระยะ 3 ปีที่ผ่านมาสิ้นสุด ณ เดือนธันวาคม 2549 คิดเป็น 10.11 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ แม้ว่าค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการผลิต (Lifting Cost) ของบริษัทจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 1.82 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบในปี 2548 เป็น 2.13 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบในปี 2549 แต่ก็ลดลงเล็กน้อยเป็น 2.08 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในไตรมาสแรกของปี 2550 โดยยังถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ประกอบการระดับโลกดังกล่าว
ฐานะทางการเงินของ ปตท.สผ. ยังคงมีความแข็งแกร่งเป็นอย่างมาก ในปี 2549 บริษัทมียอดขายรวม 86,339 ล้านบาท เพิ่มขึ้น30.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2548 และมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 18.2% เป็น 28,047 ล้านบาท อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 12.1% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2550 อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายอยู่ในระดับ 88.0 เท่าในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2550 ในขณะที่ยังคงมีอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้จากการขายในระดับสูงที่ 70%-75% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า แผนการลงทุน 5 ปีของ ปตท. สผ. (2550-2554) ซึ่งจะใช้เงินทุนรวม 191,514 ล้านบาทนั้นสูงกว่าตัวเลขเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้เนื่องมาจากต้นทุนที่สูงขึ้นของโครงการอาทิตย์และแผนการผลิตปิโตรเลียมที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น เมื่อพิจารณาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัทที่ประมาณ 35,000-40,000 ล้านบาทต่อปีและเงินลงทุนที่ต้องการใช้อีกประมาณ 50,000 ล้านบาทต่อปีในระหว่างปี 2550-2552 แล้ว บริษัทน่าจะสามารถจัดสรรเงินทุนสำหรับค่าใช้จ่ายจากกระแสเงินสดภายใน การจัดหาเงินกู้เพิ่มเติมอีกประมาณ 10,000-20,000 ล้านบาทต่อปีไม่น่าจะมีผลกระทบต่อฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งของบริษัท นอกจากนี้ บริษัทยังมีสภาพคล่องในระดับสูงจากการมีเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นรวมทั้งสิ้นอีก 28,192 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2550 -- จบ
-----------------------------------------------------------------
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2550 ห้ามไม่มิให้บุคคลใด ใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยมิได้รับอนุญาต การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำแถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอแนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะอื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควรประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิตนี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้ ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงมิได้รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้น ผลที่ได้รับ หรือการกระทำใดๆ โดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนการคาดการณ์ว่าบริษัทจะยังคงดำรงฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งต่อไปได้แม้ว่าจะมีแผนการลงทุนในระดับสูงในระหว่างปี 2550-2552 ความกดดันจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมและการจัดหาปริมาณสำรองปิโตรเลียมเพิ่มเติมน่าจะได้รับการชดเชยได้บางส่วนจากราคาปิโตรเลียมที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ คาดว่าบริษัทจะยังคงดำเนินนโยบายทางการเงินที่ระมัดระวังเพื่อรองรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นทั้งในด้านการดำเนินงานและด้านการเมืองจากโครงการที่บริษัทลงทุนในต่างประเทศ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ปตท.สผ. เป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมระดับแนวหน้าของประเทศ บริษัทมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้ว ณ เดือนธันวาคม 2549 สูงถึง 923 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ เมื่อพิจารณาจากประมาณการการผลิตที่ระดับ 188,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวันแล้ว ปริมาณสำรองปิโตรเลียมของ ปตท.สผ. น่าจะสามารถนำมาผลิตใช้ได้นานถึง 14 ปี โดยที่ผู้ประกอบการระดับโลกมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 10-15 ปี ณ สิ้นปี 2549 บริษัทมีโครงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรวมทั้งสิ้น 34 โครงการ โดย 11 โครงการอยู่ในขั้นตอนการผลิต และที่เหลืออยู่ในขั้นตอนการสำรวจและพัฒนา
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ปตท.สผ. ก่อตั้งด้วยวัตถุประสงค์เพื่อถือสิทธิ์สัมปทานปิโตรเลียมในนามของรัฐบาลไทย โดย ณ เดือนมีนาคม 2550 มีฐานะเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้น 66.5% โดยบริษัทน้ำมันแห่งชาติ คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ทั้ง ปตท. และ ปตท.สผ. ยังคงมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้พระราชบัญญัติงบประมาณของไทย ในฐานะรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐที่ทำหน้าที่สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ปตท.สผ. จึงมักได้รับประโยชน์ในการเข้าร่วมโครงการสัมปทานปิโตรเลียมที่สำคัญๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการรายอื่นแล้ว ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ ปตท.สผ. จัดว่าอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ บริษัทมีต้นทุนเฉลี่ยในการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในระยะ 3 ปีที่ผ่านมาสิ้นสุด ณ เดือนธันวาคม 2549 คิดเป็น 10.11 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ แม้ว่าค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการผลิต (Lifting Cost) ของบริษัทจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 1.82 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบในปี 2548 เป็น 2.13 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบในปี 2549 แต่ก็ลดลงเล็กน้อยเป็น 2.08 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในไตรมาสแรกของปี 2550 โดยยังถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ประกอบการระดับโลกดังกล่าว
ฐานะทางการเงินของ ปตท.สผ. ยังคงมีความแข็งแกร่งเป็นอย่างมาก ในปี 2549 บริษัทมียอดขายรวม 86,339 ล้านบาท เพิ่มขึ้น30.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2548 และมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 18.2% เป็น 28,047 ล้านบาท อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 12.1% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2550 อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายอยู่ในระดับ 88.0 เท่าในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2550 ในขณะที่ยังคงมีอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้จากการขายในระดับสูงที่ 70%-75% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า แผนการลงทุน 5 ปีของ ปตท. สผ. (2550-2554) ซึ่งจะใช้เงินทุนรวม 191,514 ล้านบาทนั้นสูงกว่าตัวเลขเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้เนื่องมาจากต้นทุนที่สูงขึ้นของโครงการอาทิตย์และแผนการผลิตปิโตรเลียมที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น เมื่อพิจารณาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัทที่ประมาณ 35,000-40,000 ล้านบาทต่อปีและเงินลงทุนที่ต้องการใช้อีกประมาณ 50,000 ล้านบาทต่อปีในระหว่างปี 2550-2552 แล้ว บริษัทน่าจะสามารถจัดสรรเงินทุนสำหรับค่าใช้จ่ายจากกระแสเงินสดภายใน การจัดหาเงินกู้เพิ่มเติมอีกประมาณ 10,000-20,000 ล้านบาทต่อปีไม่น่าจะมีผลกระทบต่อฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งของบริษัท นอกจากนี้ บริษัทยังมีสภาพคล่องในระดับสูงจากการมีเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นรวมทั้งสิ้นอีก 28,192 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2550 -- จบ
-----------------------------------------------------------------
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2550 ห้ามไม่มิให้บุคคลใด ใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยมิได้รับอนุญาต การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำแถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอแนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะอื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควรประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิตนี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้ ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงมิได้รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้น ผลที่ได้รับ หรือการกระทำใดๆ โดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว