บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศลดอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกัน 300 ล้านบาท (ASC094A) ของ บริษัท ห้องเย็นเอเชี่ยนซีฟู้ด จำกัด (มหาชน) ลงมาที่ระดับ “BBB” จาก “BBB+” ด้วยแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงคณะผู้บริหารของบริษัทที่มีประสบการณ์และความสามารถ รวมถึงการที่บริษัทมีสินค้าและตลาดรองรับที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม จุดแข็งดังกล่าวถูกลดทอนลงบางส่วนจากลักษณะของอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่มีการแข่งขันค่อนข้างรุนแรงและผันผวน ขนาดของบริษัทที่เล็กเมื่อเทียบกับผู้ส่งออกรายใหญ่ระดับโลก มาตรการกีดกันทางการค้าของประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ ภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่มีความผันผวนสูง
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงการคาดการณ์ว่าบริษัทห้องเย็นเอเชี่ยนซีฟู้ดจะสามารถรับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการขยายธุรกิจสู่กิจการอาหารสัตว์และการสร้างตลาดสำหรับธุรกิจปลาทูน่า โดยทริสเรทติ้งจะให้ความสำคัญกับความคืบหน้าในการลดภาระหนี้ของบริษัทในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า อีกทั้งยังคาดว่าบริษัทจะยังคงดำรงอัตราการทำกำไรเอาไว้ได้ในระดับปัจจุบัน
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทห้องเย็นเอเชี่ยนซีฟู้ดเป็นผู้ผลิตอาหารทะเลขนาดกลางของไทยซึ่งมียอดขายรวมในปี 2549 ประมาณ 8 พันล้านบาท คณะผู้บริหารของบริษัทส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในธุรกิจอาหารทะเลมานานและร่วมงานกับบริษัทมากว่า 10 ปี บริษัทมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายตั้งแต่ผลิตภัณฑ์พื้นฐาน เช่น กุ้งดิบแช่แข็ง ไปจนถึงสินค้าเพิ่มมูลค่า เช่น กุ้งชุบผงขนมปังและกุ้งซาชิมิแบบญี่ปุ่นซึ่งต้องใช้คนงานที่มีทักษะในระดับสูงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยังมีตลาดเฉพาะสำหรับสินค้าประเภทปลาทรายด้วย ทั้งนี้ การมีสินค้าที่หลากหลายและสัมพันธภาพที่ยาวนานกับลูกค้าในหลายประเทศช่วยให้บริษัทมีความยืดหยุ่นในการบริหารงาน ส่วนตลาดหลักที่บริษัทส่งออกอาหารทะเล ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ในปี 2549 บริษัทห้องเย็นเอเชี่ยนซีฟู้ดได้ขยายสายธุรกิจโดยการเพิ่มผลิตภัณฑ์ 2 ประเภท ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง และอาหารกุ้ง ในเดือนมกราคม 2549 บริษัทได้ซื้อหุ้นของ บริษัท เอสทีซี ฟีด จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหารกุ้งจาก บริษัท นครหลวงค้าข้าว จำกัด คิดเป็นมูลค่า 275 ล้านบาท โดยบริษัทนครหลวงค้าข้าวได้รับผลตอบแทนด้วยการได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 ของบริษัทในสัดส่วน 16% ผ่านการแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิเป็นหุ้นสามัญของบริษัท และในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 บริษัทได้ก่อสร้างโรงงานแปรรูปปลาทูน่าแล้วเสร็จ
โดยโรงงานดังกล่าวใช้ทุนก่อสร้าง 1 พันล้านบาท และมีความสามารถในการผลิตเบื้องต้นอยู่ที่ 70 ตันต่อวัน ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าจะเริ่มส่งออกปลาทูน่ากระป๋องได้ในช่วงต้นปี 2550
ผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารทะเลต่างประสบกับปัญหาราคาวัตถุดิบและราคาสินค้าที่มีความผันผวน โดยกำไรและกระแสเงินสดในธุรกิจนี้ค่อนข้างแปรปรวนและขึ้นอยู่กับฤดูกาล แม้ว่าบริษัทจะจัดเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางในหมู่ผู้ส่งออกอาหารทะเลของไทย แต่ก็ถือว่ายังมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับผู้ส่งออกรายใหญ่ระดับโลกหลายๆ ราย ซึ่งทำให้บริษัทเสียเปรียบในด้านการประหยัดจากขนาดและเสียเปรียบผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีธุรกิจครบวงจร นอกจากนี้ มาตรการกีดกันทางการค้ายังคงเป็นปัจจัยที่สร้างความยากลำบากให้แก่ผู้ส่งออกอาหารทะเล ยกเว้นบริษัทขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ซึ่งรวมถึงบริษัทด้วยที่อาจได้ประโยชน์จากมาตรการดังกล่าวเนื่องจากบริษัทส่งออกขนาดเล็กอาจไม่สามารถปฏิบัติตามกฎที่เข้มงวดยิ่งขึ้นได้และอาจต้องเลิกดำเนินธุรกิจในตลาดดังกล่าวในอนาคต
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า สืบเนื่องจากการซื้อบริษัทเอสทีซี ฟีดและการลงทุนในโรงงานแปรรูปปลาทูน่าจึงส่งผลให้ภาระหนี้ของบริษัทห้องเย็นเอเชี่ยนซีฟู้ดเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและทำให้ฐานะทางการเงินของบริษัทอ่อนแอลง โดยอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อรายได้จากการขายลดลงเล็กน้อยจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นและจากการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นสำหรับหนี้เสียของธุรกิจอาหารสัตว์ อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนเพิ่มจาก 48.1% ในปี 2548 เป็น 69.4% ณ เดือนกันยายน 2549 อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายลดลงจาก 4.9 เท่าในปี 2548 เป็น 2.0 เท่าสำหรับช่วง 9 เดือนแรกสิ้นสุด ณ เดือนกันยายน 2549 การที่บริษัทมีอัตรากำไรจากการดำเนินงานต่อรายได้ในระดับต่ำและมีขนาดของธุรกิจในระดับกลางจึงทำให้ฐานะทางการเงินได้รับผลกระทบจากการลงทุนขนาดใหญ่และความผันผวนของค่าเงินบาทได้ง่าย อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องของบริษัทยังอยู่ในระดับที่น่าพอใจเนื่องจากหนี้สินระยะสั้นส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเงินหมุนเวียนทางการค้า บริษัทมีวงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่ยังเหลืออยู่อีกประมาณ 900 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2549 -- จบ
--------------------------------------------------------------------------------------------
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2550 ห้ามมิให้บุคคลใดใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยมิได้รับอนุญาต การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำ
แถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอแนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะอื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควรประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิตนี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้ ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงมิได้รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้น ผลที่ได้รับ หรือการกระทำใดๆ โดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงการคาดการณ์ว่าบริษัทห้องเย็นเอเชี่ยนซีฟู้ดจะสามารถรับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการขยายธุรกิจสู่กิจการอาหารสัตว์และการสร้างตลาดสำหรับธุรกิจปลาทูน่า โดยทริสเรทติ้งจะให้ความสำคัญกับความคืบหน้าในการลดภาระหนี้ของบริษัทในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า อีกทั้งยังคาดว่าบริษัทจะยังคงดำรงอัตราการทำกำไรเอาไว้ได้ในระดับปัจจุบัน
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทห้องเย็นเอเชี่ยนซีฟู้ดเป็นผู้ผลิตอาหารทะเลขนาดกลางของไทยซึ่งมียอดขายรวมในปี 2549 ประมาณ 8 พันล้านบาท คณะผู้บริหารของบริษัทส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในธุรกิจอาหารทะเลมานานและร่วมงานกับบริษัทมากว่า 10 ปี บริษัทมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายตั้งแต่ผลิตภัณฑ์พื้นฐาน เช่น กุ้งดิบแช่แข็ง ไปจนถึงสินค้าเพิ่มมูลค่า เช่น กุ้งชุบผงขนมปังและกุ้งซาชิมิแบบญี่ปุ่นซึ่งต้องใช้คนงานที่มีทักษะในระดับสูงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยังมีตลาดเฉพาะสำหรับสินค้าประเภทปลาทรายด้วย ทั้งนี้ การมีสินค้าที่หลากหลายและสัมพันธภาพที่ยาวนานกับลูกค้าในหลายประเทศช่วยให้บริษัทมีความยืดหยุ่นในการบริหารงาน ส่วนตลาดหลักที่บริษัทส่งออกอาหารทะเล ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ในปี 2549 บริษัทห้องเย็นเอเชี่ยนซีฟู้ดได้ขยายสายธุรกิจโดยการเพิ่มผลิตภัณฑ์ 2 ประเภท ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง และอาหารกุ้ง ในเดือนมกราคม 2549 บริษัทได้ซื้อหุ้นของ บริษัท เอสทีซี ฟีด จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหารกุ้งจาก บริษัท นครหลวงค้าข้าว จำกัด คิดเป็นมูลค่า 275 ล้านบาท โดยบริษัทนครหลวงค้าข้าวได้รับผลตอบแทนด้วยการได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 ของบริษัทในสัดส่วน 16% ผ่านการแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิเป็นหุ้นสามัญของบริษัท และในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 บริษัทได้ก่อสร้างโรงงานแปรรูปปลาทูน่าแล้วเสร็จ
โดยโรงงานดังกล่าวใช้ทุนก่อสร้าง 1 พันล้านบาท และมีความสามารถในการผลิตเบื้องต้นอยู่ที่ 70 ตันต่อวัน ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าจะเริ่มส่งออกปลาทูน่ากระป๋องได้ในช่วงต้นปี 2550
ผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารทะเลต่างประสบกับปัญหาราคาวัตถุดิบและราคาสินค้าที่มีความผันผวน โดยกำไรและกระแสเงินสดในธุรกิจนี้ค่อนข้างแปรปรวนและขึ้นอยู่กับฤดูกาล แม้ว่าบริษัทจะจัดเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางในหมู่ผู้ส่งออกอาหารทะเลของไทย แต่ก็ถือว่ายังมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับผู้ส่งออกรายใหญ่ระดับโลกหลายๆ ราย ซึ่งทำให้บริษัทเสียเปรียบในด้านการประหยัดจากขนาดและเสียเปรียบผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีธุรกิจครบวงจร นอกจากนี้ มาตรการกีดกันทางการค้ายังคงเป็นปัจจัยที่สร้างความยากลำบากให้แก่ผู้ส่งออกอาหารทะเล ยกเว้นบริษัทขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ซึ่งรวมถึงบริษัทด้วยที่อาจได้ประโยชน์จากมาตรการดังกล่าวเนื่องจากบริษัทส่งออกขนาดเล็กอาจไม่สามารถปฏิบัติตามกฎที่เข้มงวดยิ่งขึ้นได้และอาจต้องเลิกดำเนินธุรกิจในตลาดดังกล่าวในอนาคต
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า สืบเนื่องจากการซื้อบริษัทเอสทีซี ฟีดและการลงทุนในโรงงานแปรรูปปลาทูน่าจึงส่งผลให้ภาระหนี้ของบริษัทห้องเย็นเอเชี่ยนซีฟู้ดเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและทำให้ฐานะทางการเงินของบริษัทอ่อนแอลง โดยอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อรายได้จากการขายลดลงเล็กน้อยจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นและจากการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นสำหรับหนี้เสียของธุรกิจอาหารสัตว์ อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนเพิ่มจาก 48.1% ในปี 2548 เป็น 69.4% ณ เดือนกันยายน 2549 อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายลดลงจาก 4.9 เท่าในปี 2548 เป็น 2.0 เท่าสำหรับช่วง 9 เดือนแรกสิ้นสุด ณ เดือนกันยายน 2549 การที่บริษัทมีอัตรากำไรจากการดำเนินงานต่อรายได้ในระดับต่ำและมีขนาดของธุรกิจในระดับกลางจึงทำให้ฐานะทางการเงินได้รับผลกระทบจากการลงทุนขนาดใหญ่และความผันผวนของค่าเงินบาทได้ง่าย อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องของบริษัทยังอยู่ในระดับที่น่าพอใจเนื่องจากหนี้สินระยะสั้นส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเงินหมุนเวียนทางการค้า บริษัทมีวงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่ยังเหลืออยู่อีกประมาณ 900 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2549 -- จบ
--------------------------------------------------------------------------------------------
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2550 ห้ามมิให้บุคคลใดใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยมิได้รับอนุญาต การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำ
แถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอแนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะอื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควรประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิตนี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้ ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงมิได้รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้น ผลที่ได้รับ หรือการกระทำใดๆ โดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว