กรุงเทพฯ--17 ส.ค.--สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะผู้บริหารและนักวิจัย ร่วมให้การต้อนรับ นายกิตติกร โล่สุนทร ประธานคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร และคณะ ในโอกาสศึกษาดูงาน “การผลิตพลังไฟฟ้าน้ำแบบสูบกลับ การผลิตพลังงานลม” ภายใต้การดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และรับฟังการบรรยายเกี่ยวกับ “โครงการด้านการวิจัย พัฒนาและสร้างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีพลังงานจากขยะและชีวมวล” พร้อมเยี่ยมชมศูนย์สาธิตการผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวลและขยะ ภายใต้การดำเนินงานของ วว. ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งสร้างความเข้าใจและสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนา ต่อยอดเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนจากชีวมวลและขยะ ภายใต้การดำเนินโครงการแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและขยะชุมชนโดยเทคโนโลยีสะอาดในพื้นที่ ระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม 2563 ณ จังหวัดนครราชสีมา
โครงการแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและขยะชุมชนโดยเทคโนโลยีสะอาดในพื้นที่ของ วว. ว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อการรองรับแผนกลยุทธ์แห่งชาติว่าด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ขององค์กร พร้อมสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและพลังงานทดแทน เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศของหน่วยงานวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานทดแทนโดยเฉพาะพลังงานจากขยะและชีวมวล ที่มุ่งสู่ Green Technology ตามนโยบายรัฐบาล วว. จึงมีแนวคิดในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี Gasification/Pyrolysis และเทคโนโลยีแก๊สชีวภาพ (Biogas) โดยใช้วัตถุดิบชีวมวลและขยะ เพื่อการผลิตพลังงานทดแทนประเภทพลังงานไฟฟ้าและความร้อน เพื่อรองรับความต้องการใช้พลังงานในประเทศและลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
โครงการแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและขยะชุมชนโดยเทคโนโลยีสะอาดในพื้นที่ของ วว. ประกอบด้วยชุดต้นแบบเทคโนโลยี 3 ชุด ได้แก่
ชุดเทคโนโลยีคัดแยกขยะชุดเทคโนโลยีควบคุมมลพิษและระบบอัตโนมัติสำหรับโรงไฟฟ้าขนาดเล็กกว่า 1 เมกะวัตต์ ด้วยเทคโนโลยีการผลิตแก๊สชีวภาพชุดเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าจากขยะและชีวมวล
ทั้งนี้ ศูนย์สาธิตการผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวลและขยะ ตั้งอยู่ที่ สถานีวิจัยลำตะคอง วว. จังหวัดนครราชสีมา เพื่อใช้สำหรับการวิจัย พัฒนาและสร้างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีพลังงานจากขยะและชีวมวล ทั้งนี้ วว. ได้ดำเนินการติดตั้งและทดสอบชุดต้นแบบเทคโนโลยี 3 ชุดดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีความพร้อมในการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานจากชีวมวลและขยะให้แก่ผู้สนใจ เพื่อประโยชน์อย่างยั่งยืนในการผลิตพลังงานทดแทนของประเทศต่อไป