กรุงเทพฯ--19 ธ.ค.--
เป็นโครงการที่รณรงค์ให้ประชาชนทั่วประเทศ ร่วมกันลดภาวะโลกร้อน โดยช่วยกันปลูกป่า “ ต้นมหาเศรษฐี” (ต้นตะกู) จำนวน 180,000,000 ต้น เพื่อลดภาวะโลกร้อน และหันมาดูแลธรรมชาติด้วย Nano—Active หัวเชื้อจุลินทรีย์สูตรเข้มข้นพิเศษ สืบเนื่องจากปีนี้เป็นปีมหามงคลยิ่ง ในวาระเป็นปีครบรอบ 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 จึงจัดทำโครงการนี้เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติของพระองค์ท่าน หลังจากพระองค์ได้ทรงเหน็ดเหนื่อยพระวรกายมาเป็นเวลาหลายสิบปี จากการทรงประกอบพระราชกรณียกิจ เพื่อปวงชนชาวไทยและประเทศไทยในทุกๆด้านโดยเฉพาะในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติเพื่อส่งผลให้พสกนิกรอยู่ดีกินดี
สำหรับการส่งเสริมในโครงการนี้ ทางโครงการได้ผลิตกล้าไม้ “ต้นมหาเศรษฐี” (ต้นตะกู) เพื่อใช้ในโครงการ จำนวน 180,000,000 ล้านต้น “ ต้นมหาเศรษฐี” (ต้นตะกู) ถือเป็นไม้เศรษฐกิจชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจ เพราะมีข้อดี คือปลูกง่ายโตเร็วเพียง 5 ปี สามารถ ตัดขายได้ โดยมีคุณสมบัติ สามารถนำมาใช้ทดแทนไม้ยางพารา และไม้สัก ในอุตสาหกรรมต่างๆได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรือใช้ทำไม้แผ่นแปรรูป รวมถึงสำหรับทำลังพาเล็ทในอุตสาหกรรมส่งออก เป็นต้น
นอกจากนั้น ทางโครงการยังได้ผลิต Nano—Active สำหรับโครงการนี้ จำนวน 4,000,000 ชุด แบ่งเป็น หัวเชื้อจุลินทรีย์สูตรเข้มข้นพิเศษสำหรับภาคการเกษตร จำนวน 2,000,000 ชุด ซึ่งเมื่อใช้ในภาคเกษตรแล้วจะส่งผลดีทั้งต่อดินและพืช คือสามารถปรับปรุงดินให้คุณภาพดีขึ้น ส่วนต้นไม้ก็มีอัตราการเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี
การผลิตสูตรสำหรับการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ในโครงการนี้อีก จำนวน 2,000,000 ชุด ซึ่งสามารถใช้บำบัดน้ำเสีย ทั้งจากน้ำทิ้งภายในครัวเรือน คูคลอง แหล่งน้ำ รวมไปถึงน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม หลังจากใช้คุณภาพของแหล่งน้ำจะดีขึ้น ใสสะอาด ซึ่งเป็นผลดีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และธรรมชาติโดยรวม
อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินงาน 6 เดือน เริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2550 ถึง 1 มิถุนายน 2551 ต้นตะกูหรือภาษาทางภาคเหนือเรียกว่า “ตุ้มหลวง” เป็นไม้ที่ขึ้นได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย ส่วนมากจะขึ้นอยู่ตามป่าริมห้วยและที่เป็นเขาหรือบริเวณบ้าน ประโยชน์ของต้นตะกูคือ นำไปทำเฟอร์นิเจอร์ได้ทุกชนิด ทำไม้กระดาน เสาบ้าน ประตู หน้าตาง วงกบ ทำเรือขุด เพราะว่าต้นไม้มีขนาดใหญ่ มีเนื้อไม้ที่ละเอียด มีน้ำหนักเบากว่าไม้ประดูหรือไม้มะค่า น้ำหนักใกล้เคียงกับไม้สัก และนำไปทำกลอง ด้ามปืน และคุณสมบัติพิเศษของต้นตะกูอีกอย่างคือ ปลวกหรือมอดไม่กินเหมือนไม้สัก