นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง การตั้งกระทู้ถามสดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาถึงการทำหน้าที่ของปปง. โดยกล่าวว่า ตนได้ส่งข้อมูล ซึ่งเป็นคำสารภาพของนายราเกซ ศักดิ์เสนา ที่ได้มอบให้ตนในช่วงของการทำงานตรวจสอบรัฐบาลในขณะนั้น ซึ่งผ่านมา 8-9 ปีแต่ก็ได้เก็บเอกสารชิ้นนี้ไว้ และได้มอบเอกสารดังกล่าวให้ท่านรองเลขาธิการ ปปง. ทั้งนี้ ประธาน ปปง. ตามกฎหมาย คือ นายกรัฐมนตรี เพราะฉะนั้นตนเชื่อว่า เป็นหน้าที่ของท่านที่ต้องไปดูเอกสารชิ้นนั้น เพื่อที่จะได้ทราบข้อมูลเพื่อนำไปเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของท่าน
นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวว่า ตนจะยังไม่เปิดเผยรายชื่อว่ามีใครบ้างที่ได้รับสารภาพไว้พร้อมกับลายเซ็น โดยจะรอสัก 30 วัน ถ้าท่านประธาน คือ ท่านนายกฯ ได้เห็นเอกสารแล้ว เพราะท่านได้เคยบอกถึงนโยบายการปราบคอร์รัปชั่นของท่านไว้ว่า ‘ ไม่จำเป็นต้องมีใบเสร็จ ‘ เอกสารดังกล่าวไม่ใช่ใบเสร็จ แต่ใกล้ใบเสร็จมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา คือ คำสารภาพของผู้ให้พร้อมลายเซ็น และอายุความก็ยังมีอยู่ คดีของคุณราเกซ เป็นหน้าที่ของรัฐบาลอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญโดยจะต้องรีบตามตัวกลับมาให้ได้
ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรค ปชป. กล่าวถึง เรื่องที่รัฐบาลมีนโยบายปราบคอร์รัปชั่น ว่า ความจริงเป็นนโยบายดังกล่าว เป็นนโยบายที่รัฐบาลได้ประกาศตั้งแต่ 3 ปีที่ผ่านมาก่อนจะเข้ามาเป็นรัฐบาล แต่เพิ่งจะมาจริงจังก่อนการเลือกตั้ง และในรายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชน ตนพยายามฟังท่านว่าจะดำเนินการอย่างไรในการปราบปรามคอร์รัปชั่น แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจน มีแต่การเลื่อนเวลาการประกาศนโยบายตรงนี้อย่างชัดเจนขึ้นมา
‘ตนมีการบ้านฝากไปยังท่านนายกฯ คือการโกง โกงได้ 2 อย่าง อย่างที่ 1 คือ โกงเงินงบประมาณ โกงเงินงบประมาณ รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงรับผิดชอบเต็มๆ กับอีกอย่างหนึ่งเป็นประเด็นเรื่องการทำงานในฐานะผู้ตรวจสอบ ซึ่งเป็นการทำงานที่ยากมาก คือโกงเงินนอกงบประมาณ การใช้จ่ายเงินในการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีการทุจริตคอร์รัปชั่นแต่หาผู้รับผิดชอบไม่ได้ ’ นายกอร์ปศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ทางพรรคเคยที่จะให้ ปปช. เข้ามาตรวจสอบทุกครั้งที่มีการอภิปรายรัฐมนตรี พอถึงการทุจริตในส่วนของรัฐวิสาหกิจ รัฐมนตรีกลับบอกว่าไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจนั้น รัฐมนตรีไม่ต้องรับผิดชอบต่อสภา เรื่องดังกล่าวเป็นรูปแบบของคณะกรรมการ ตนได้สอบถามกับผู้ที่เกี่ยวข้องปรากฏว่าคณะกรรมการบอกว่ารับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น และพอมาไล่ผู้ถือหุ้นคือใคร ก็คือกระทรวงการคลัง ตรงนี้เป็นประเด็นที่ทำให้เห็นว่า การตรวจสอบนั้นฝ่ายตรวจสอบจะต้องพยายามหาผู้รับผิดชอบ แต่ได้ดูแล้วปรากฏว่า รัฐวิสาหกิจที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์พอจะตามกันได้
นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวว่า ตนอยากยกตัวอย่างของข้อมูลการไซฟ่อนเงิน คือการเอาเงินออกจากตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งท่านนายกฯพูดและย้ำเรื่องดังกล่าวอยู่บ่อยครั้ง ตนได้นำเอกสารซึ่งมีข้อมูลที่ระบุว่า น่าจะมีการฮั้วประมูลงานครั้งใหญ่ของบริษัทการบินไทยที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โดยขอให้ท่านเลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เชิญประธานกรรมการ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นท่านทนง พิทยะ มาชี้แจง เพราะ กลต. มีหน้าที่เท่ากับ ปปง.เพียงแต่หน้าที่ตรงนี้คือเป็นผู้ตรวจสอบบริษัท เฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาด เพราะหน้าที่ของ กลต.ต้องช่วยผู้ถือหุ้นรายย่อย
สำหรับบริษัทการบินไทยได้รับอนุมัติจาก ครม. ให้ใช้เงิน 10,000 กว่าล้าน เป็นการทำโครงการทั้งหมด 5 โครงการ ซึ่งโครงการที่จะก่อสร้างในเขตสนามบินสุวรรณภูมิ แต่ละโครงการมีผู้ประมูลประมาณ 3-4 ราย มีวิธีพิจารณาโดยไม่พิจารณาราคาแต่จะเป็นการประมูลงานแบบเปิดซองราคา แนวทางของการบินไทยเป็นการประมูลโดยไม่เปิดซองราคา โดยจะเปิดซองทางเทคนิคก่อนถึงจะเปิดซองราคา เพราะฉะนั้นแต่ละโครงการจะเห็นว่า บริษัทที่สนใจประกวดมีทั้งหมด 10 บริษัทไม่ใช่ทุกบริษัทจะเสนอทุกโครงการ แต่เมื่อเปิดซองทางเทคนิค ปรากฏว่า ทุกโครงการเปิดซองราคาผู้แข่งขันเพียงประมาณ 2 ซองเท่านั้น ซึ่งทั้ง 5 โครงการ มี 5 บริษัทได้รับงาน โดยเห็นว่าจะได้รับงานกันถ้วนหน้า หรือพูดง่ายๆคือ เป็นรูปแบบการฮั้วที่สมบูรณ์แบบที่สุด และในเรื่องของราคากลาง อย่างเช่น ศูนย์ปฏิบัติการ ราคากลาง 661,480,000 บาท ผู้ประมูลได้ประมูลในราคา 661,060,000 บาท ซึ่งเก่งมาก และในการต่อรองราคาให้ลด 60,000 บาท ในรูปขบวนการคือแบ่งงานกัน มาช่วยกันประมูลและแบ่งงานกันครบถ้วนหน้า ‘จะนำข้อมูลตรงนี้ส่งให้ท่านเลขาฯ กลต. เพราะไม่รู้ไปส่งให้กับกระทรวงการคลังผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็จะลำบาก เพราะท่านเคยเป็นเลขาฯของประธานคณะกรรมการ บริษัท การบินไทย ไม่ได้คิดว่าท่านจะไม่ทำอะไร แต่คิดว่ามันจะลำบาก เพราะฉะนั้นคิดว่าควรส่งให้ กลต.ดีที่สุด ซึ่งกลต.มีอำนาจทางกฎหมายอยู่แล้ว ตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายท่านนายกฯ ในเรื่องการปราบทุจริตคอร์รัปชั่น ว่าการฮั้วประมูลในลักษณะอย่างนี้ท่านจะแก้ไขอย่างไร ’ นายกอร์ปศักดิ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าทำไมไม่ไปยื่น ปปช. นายกอร์ปศักดิ์กล่าวว่า ยื่น ปปช. ก็ได้ แต่ตนต้องการให้เป็นไปตามขั้นตอน เพราะยังไม่มีหลักฐานชัดเจนในเรื่องของการฮั้ว แต่ลักษณะของทั้งการเปิดซองราคา และการแบ่งงาน ชี้ให้เห็นค่อนข้างใกล้เคียงกับความเป็นจริงว่าน่าจะมีการฮั้วกันเกิดขึ้น ‘เบื้องต้นตนคิดว่าจะปกป้องผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งหลาย เพราะถ้าหากการบินไทยใช้เงินหมื่นกว่าล้านโดยไม่ระวัง ก็จะทำให้กำไรที่ควรจะมีลดน้อยลง’ นายกอร์ปศักดิ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-
นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวว่า ตนจะยังไม่เปิดเผยรายชื่อว่ามีใครบ้างที่ได้รับสารภาพไว้พร้อมกับลายเซ็น โดยจะรอสัก 30 วัน ถ้าท่านประธาน คือ ท่านนายกฯ ได้เห็นเอกสารแล้ว เพราะท่านได้เคยบอกถึงนโยบายการปราบคอร์รัปชั่นของท่านไว้ว่า ‘ ไม่จำเป็นต้องมีใบเสร็จ ‘ เอกสารดังกล่าวไม่ใช่ใบเสร็จ แต่ใกล้ใบเสร็จมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา คือ คำสารภาพของผู้ให้พร้อมลายเซ็น และอายุความก็ยังมีอยู่ คดีของคุณราเกซ เป็นหน้าที่ของรัฐบาลอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญโดยจะต้องรีบตามตัวกลับมาให้ได้
ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรค ปชป. กล่าวถึง เรื่องที่รัฐบาลมีนโยบายปราบคอร์รัปชั่น ว่า ความจริงเป็นนโยบายดังกล่าว เป็นนโยบายที่รัฐบาลได้ประกาศตั้งแต่ 3 ปีที่ผ่านมาก่อนจะเข้ามาเป็นรัฐบาล แต่เพิ่งจะมาจริงจังก่อนการเลือกตั้ง และในรายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชน ตนพยายามฟังท่านว่าจะดำเนินการอย่างไรในการปราบปรามคอร์รัปชั่น แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจน มีแต่การเลื่อนเวลาการประกาศนโยบายตรงนี้อย่างชัดเจนขึ้นมา
‘ตนมีการบ้านฝากไปยังท่านนายกฯ คือการโกง โกงได้ 2 อย่าง อย่างที่ 1 คือ โกงเงินงบประมาณ โกงเงินงบประมาณ รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงรับผิดชอบเต็มๆ กับอีกอย่างหนึ่งเป็นประเด็นเรื่องการทำงานในฐานะผู้ตรวจสอบ ซึ่งเป็นการทำงานที่ยากมาก คือโกงเงินนอกงบประมาณ การใช้จ่ายเงินในการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีการทุจริตคอร์รัปชั่นแต่หาผู้รับผิดชอบไม่ได้ ’ นายกอร์ปศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ทางพรรคเคยที่จะให้ ปปช. เข้ามาตรวจสอบทุกครั้งที่มีการอภิปรายรัฐมนตรี พอถึงการทุจริตในส่วนของรัฐวิสาหกิจ รัฐมนตรีกลับบอกว่าไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจนั้น รัฐมนตรีไม่ต้องรับผิดชอบต่อสภา เรื่องดังกล่าวเป็นรูปแบบของคณะกรรมการ ตนได้สอบถามกับผู้ที่เกี่ยวข้องปรากฏว่าคณะกรรมการบอกว่ารับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น และพอมาไล่ผู้ถือหุ้นคือใคร ก็คือกระทรวงการคลัง ตรงนี้เป็นประเด็นที่ทำให้เห็นว่า การตรวจสอบนั้นฝ่ายตรวจสอบจะต้องพยายามหาผู้รับผิดชอบ แต่ได้ดูแล้วปรากฏว่า รัฐวิสาหกิจที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์พอจะตามกันได้
นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวว่า ตนอยากยกตัวอย่างของข้อมูลการไซฟ่อนเงิน คือการเอาเงินออกจากตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งท่านนายกฯพูดและย้ำเรื่องดังกล่าวอยู่บ่อยครั้ง ตนได้นำเอกสารซึ่งมีข้อมูลที่ระบุว่า น่าจะมีการฮั้วประมูลงานครั้งใหญ่ของบริษัทการบินไทยที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โดยขอให้ท่านเลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เชิญประธานกรรมการ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นท่านทนง พิทยะ มาชี้แจง เพราะ กลต. มีหน้าที่เท่ากับ ปปง.เพียงแต่หน้าที่ตรงนี้คือเป็นผู้ตรวจสอบบริษัท เฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาด เพราะหน้าที่ของ กลต.ต้องช่วยผู้ถือหุ้นรายย่อย
สำหรับบริษัทการบินไทยได้รับอนุมัติจาก ครม. ให้ใช้เงิน 10,000 กว่าล้าน เป็นการทำโครงการทั้งหมด 5 โครงการ ซึ่งโครงการที่จะก่อสร้างในเขตสนามบินสุวรรณภูมิ แต่ละโครงการมีผู้ประมูลประมาณ 3-4 ราย มีวิธีพิจารณาโดยไม่พิจารณาราคาแต่จะเป็นการประมูลงานแบบเปิดซองราคา แนวทางของการบินไทยเป็นการประมูลโดยไม่เปิดซองราคา โดยจะเปิดซองทางเทคนิคก่อนถึงจะเปิดซองราคา เพราะฉะนั้นแต่ละโครงการจะเห็นว่า บริษัทที่สนใจประกวดมีทั้งหมด 10 บริษัทไม่ใช่ทุกบริษัทจะเสนอทุกโครงการ แต่เมื่อเปิดซองทางเทคนิค ปรากฏว่า ทุกโครงการเปิดซองราคาผู้แข่งขันเพียงประมาณ 2 ซองเท่านั้น ซึ่งทั้ง 5 โครงการ มี 5 บริษัทได้รับงาน โดยเห็นว่าจะได้รับงานกันถ้วนหน้า หรือพูดง่ายๆคือ เป็นรูปแบบการฮั้วที่สมบูรณ์แบบที่สุด และในเรื่องของราคากลาง อย่างเช่น ศูนย์ปฏิบัติการ ราคากลาง 661,480,000 บาท ผู้ประมูลได้ประมูลในราคา 661,060,000 บาท ซึ่งเก่งมาก และในการต่อรองราคาให้ลด 60,000 บาท ในรูปขบวนการคือแบ่งงานกัน มาช่วยกันประมูลและแบ่งงานกันครบถ้วนหน้า ‘จะนำข้อมูลตรงนี้ส่งให้ท่านเลขาฯ กลต. เพราะไม่รู้ไปส่งให้กับกระทรวงการคลังผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็จะลำบาก เพราะท่านเคยเป็นเลขาฯของประธานคณะกรรมการ บริษัท การบินไทย ไม่ได้คิดว่าท่านจะไม่ทำอะไร แต่คิดว่ามันจะลำบาก เพราะฉะนั้นคิดว่าควรส่งให้ กลต.ดีที่สุด ซึ่งกลต.มีอำนาจทางกฎหมายอยู่แล้ว ตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายท่านนายกฯ ในเรื่องการปราบทุจริตคอร์รัปชั่น ว่าการฮั้วประมูลในลักษณะอย่างนี้ท่านจะแก้ไขอย่างไร ’ นายกอร์ปศักดิ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าทำไมไม่ไปยื่น ปปช. นายกอร์ปศักดิ์กล่าวว่า ยื่น ปปช. ก็ได้ แต่ตนต้องการให้เป็นไปตามขั้นตอน เพราะยังไม่มีหลักฐานชัดเจนในเรื่องของการฮั้ว แต่ลักษณะของทั้งการเปิดซองราคา และการแบ่งงาน ชี้ให้เห็นค่อนข้างใกล้เคียงกับความเป็นจริงว่าน่าจะมีการฮั้วกันเกิดขึ้น ‘เบื้องต้นตนคิดว่าจะปกป้องผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งหลาย เพราะถ้าหากการบินไทยใช้เงินหมื่นกว่าล้านโดยไม่ระวัง ก็จะทำให้กำไรที่ควรจะมีลดน้อยลง’ นายกอร์ปศักดิ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-