แท็ก
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
เซาธ์เทิร์นซีบอร์ด
อรรชกา สีบุญเรือง
กระทรวงอุตสาหกรรม
โลจิสติกส์
สศอ.ชี้เซาธ์เทิร์นซีบอร์ดศักยภาพเต็มเปี่ยม มั่นใจสามารถพัฒนาสำหรับรองรับแหล่งอุตสาหกรรมต้นน้ำ หนุนระบบโลจิสติกส์ได้สูง
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือ โอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้ร่วมกับสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย (สลท.) โดยมีเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ร่วมการเดินทางไปสำรวจพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร และประจวบคีรีขันธ์ เพื่อสำรวจพื้นที่ที่มีศักยภาพสามารถรองรับอุตสาหกรรมต้นน้ำ อาทิ อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมต่อเรือ อุตสาหกรรมพลาสติก
ทั้งนี้ จากรายงานการศึกษาพื้นที่ที่สศอ. ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญองค์กรพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) ได้เคยศึกษาไว้และจากการสำรวจในครั้งนี้เห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นยังมีความเหมาะสมอยู่ ซึ่งสอดคล้องตามแนวทางการส่งเสริมการลงทุนของ BOI และแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้หรือเซาธ์เทิร์นซีบอร์ดของ สศช. โดยปัจจุบันได้มีการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก และสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานอื่นๆ ที่จำเป็นแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีลักษณะภูมิศาสตร์ที่เอื้อต่อการพัฒนาด้านโลจิสติกส์สูง
อย่างไรก็ตาม หากโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลใต้ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐบาลอย่างจริงจังก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ โดยเฉพาะเมื่อเกิดอุตสาหกรรมต้นน้ำ เช่น อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ก็จะสามารถลดการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาสูงและแนวโน้มที่จะขาดแคลน นอกจากนี้ยังทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องได้รับประโยชน์ตามมา อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอู่ต่อเรือ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือ โอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้ร่วมกับสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย (สลท.) โดยมีเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ร่วมการเดินทางไปสำรวจพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร และประจวบคีรีขันธ์ เพื่อสำรวจพื้นที่ที่มีศักยภาพสามารถรองรับอุตสาหกรรมต้นน้ำ อาทิ อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมต่อเรือ อุตสาหกรรมพลาสติก
ทั้งนี้ จากรายงานการศึกษาพื้นที่ที่สศอ. ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญองค์กรพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) ได้เคยศึกษาไว้และจากการสำรวจในครั้งนี้เห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นยังมีความเหมาะสมอยู่ ซึ่งสอดคล้องตามแนวทางการส่งเสริมการลงทุนของ BOI และแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้หรือเซาธ์เทิร์นซีบอร์ดของ สศช. โดยปัจจุบันได้มีการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก และสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานอื่นๆ ที่จำเป็นแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีลักษณะภูมิศาสตร์ที่เอื้อต่อการพัฒนาด้านโลจิสติกส์สูง
อย่างไรก็ตาม หากโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลใต้ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐบาลอย่างจริงจังก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ โดยเฉพาะเมื่อเกิดอุตสาหกรรมต้นน้ำ เช่น อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ก็จะสามารถลดการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาสูงและแนวโน้มที่จะขาดแคลน นอกจากนี้ยังทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องได้รับประโยชน์ตามมา อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอู่ต่อเรือ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-